วันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2560

3.ขิง


   Image result for ขิง

        ขิงเป็นพืชที่คนไทยเราคุ้นเคยมานาน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Zingiber officinale Rosc. จัดอยู่ในวงศ์ Zingiberaceae มีชื่อที่เรียกตามภาษาท้องถิ่นแตกต่างกันไป เช่น ขิงแกลง ขิงแดง (จันทบุรี) ขิงเผือก (เชียงใหม่) สะเอ (แม่ฮ่องสอน) ขิงบ้าน ขิงแครง ขิงป่า ขิงเขา ขิงอกเดียว (ภาคกลาง)

ลักษณะทางพืชศาสตร์
   ขิงเป็นพืชล้มลุก มีลักษณะเป็นกอสูงประมาณ 90 เซนติเมตร ก้านใบเป็นกาบหุ้มซ้อนกัน จัดเป็นพืชตระกูลเดียวกับข่า ขมิ้น กระวาน เร่ว มีลำต้นใต้ดิน ซึ่งมีลักษณะคล้ายฝ่ามือ เรียกว่า “เหง้า” เปลือกเหง้ามีสีเหลืองอ่อน เนื้อมีสีเหลืองอมเขียว มีใยอาหารมาก ขิงอ่อนมีสีขาวออกเหลือง มีรสเผ็ดและกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ขิงยิ่งแก่ยิ่งมีรสเผ็ดร้อน

สรรพคุณทางยา
 ราก รสหวาน ขม เผ็ดร้อน ใช้แก้ไอ ขับเสมหะ แก้ลม แก้บิด และช่วยเจริญอาหาร

 เหง้า รสหวาน เผ็ดร้อน ใช้ขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ บรรเทาอาการคลื่นไส้

 ต้น รสเผ็ดร้อน แก้จุกเสียด ขับลม แก้ท้องเสียและท้องร่วง

 ใบ รสเผ็ดร้อน แก้นิ่ว แก้ขัดปัสสาวะ และใช้ฆ่าพยาธิได้

 ดอก รสเผ็ดร้อน แก้ขัดปัสสาวะ และช่วยย่อยอาหาร

 ผล มีสรรพคุณช่วยบำรุงน้ำนม แก้คอแห้ง แก้อาการระคายคอ เจ็บคอ แก้ไข้

 แก่น มีสรรพคุณแก้คัน

Related image

ประโยชน์ของขิง

 ลดอาการท้องอืด 

       หากคุณรู้สึกท้องอืดหรืออาหารไม่ย่อยให้จิบชาน้ำขิงหรือกินขิงสดจะทำให้คุณรู้ดีขึ้น หรือถ้าหากคุณเกิดอาการท้องอืดจากการกินถั่วละก็ คราวหน้าลองฝานถั่วบาง ๆ ลงไปในอาหารที่มีถั่ว นั่นก็จะช่วยลดอาหารท้องอืดได้เช่นกันค่ะ เพราะขิงนั้นเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อน สามารถช่วยขับลม และกระตุ้นการทำงานของลำไส้ทำให้ อาการท้องอืดบรรเทาลงได้ 

 ช่วยบรรเทาอาการไมเกรน

         จากการศึกษาพบว่า การรับประทานขิงตอนที่อาการไมเกรนใกล้กำเริบนั้น จะช่วยทำให้ความเจ็บปวดจากอาการไมเกรนลดลงได้ เพราะขิงจะไปช่วยสกัดการฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการอักเสบ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาอื่น แสดงให้เห็นอีกว่าขิงสามารถช่วยรักษาอาการไขข้ออักเสบ โดยพบว่าผู้ที่มีอาการของโรคข้อเข่าเสื่อมหรือโรครูมาตอยด์มีอาการลดลงเมื่อบริโภคขิงผงเป็นประจำทุกวัน

 ช่วยป้องกันมะเร็ง

        ขิงมีคุณสมบัติในการช่วยต่อสู้กับโรคมะเร็ง โดยมีการศึกษาพบว่าขิงช่วยทำให้เซลล์มะเร็งภายในรังไข่ตาย เพราะในขิงมีสารเคมีธรรมชาติที่ไปช่วยกระตุ้นเอนไซม์กลูตาไธโน-เอส-ทรานสเฟอรเรส ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยป้องกันมะเร็งได้ นอกจากนี้ยังพบอีกว่าผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีขิงเป็นส่วนประกอบยังช่วยลดอาการอักเสบในลำไส้ใหญ่ได้อีกด้วย

 ช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้

       ขิงสามารถบรรเทาอาการคลื่นไส้ได้ โดยชาวเอเชียนั้นมักจะใช้ขิงในการช่วยบรรเทาอาการเมารถ หรือเมาเรือ นอกจากนี้ยังมีหลายการศึกษาพบว่าขิงสามารถช่วยป้องกันและบรรเทาอาการอาเจียนหลังจากการผ่าตัดและยังช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้และอาเจียนในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่เข้ารับเคมีบำบัดได้อีกด้วย


 ช่วยลดน้ำตาลในเลือด

        มีการศึกษาใหม่พบว่า ขิงผงนั้นสามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ โดยเฉพาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แต่ก็ควรที่จะปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานขิงร่วมกับยา เพราะขิงอาจทำปฏิกิริยากับยาที่ใช้รักษาได้ และควรติดตามผลระดับน้ำตาลอย่างใกล้ชิด เพราะหากรับประทานขิงมากเกินไปก็อาจจะทำให้ระดับอินซูลินลดลงมากเกินไปจนอยู่ในขีดอันตรายได้

สรรพคุณขิงดอง 

        เราอาจจะเคยได้ยินกันมาว่าการรับประทานของหมักดองไม่ดีกับสุขภาพ แต่ต้องขอยกเว้นไว้สำหรับขิงดองค่ะ เพราะจริง ๆ แล้วแม้ขิงดองจะเป็นอาหารที่ผ่านการหมักด้วยน้ำส้มสายชู แต่เรื่องสรรพคุณ และประโยชน์เพื่อสุขภาพ ขิงดองก็มีดีไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าขิงสด ๆ เลยล่ะค่ะ ซึ่งประโยชน์ของขิงดองมีดังนี้


ช่วยแก้อาการเมาเรือ เมารถ และอาการแพ้ท้อง

        เนื่องจากขิงดองเป็นอาหารที่มีกลิ่นแรงอีกทั้งยังมีรสชาติเผ็ดอมเปรี้ยว เลยทำให้กลายเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับคนที่มีอาการเมาเรือ เมารถ และสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ ซึ่งมักจะมีอาการแพ้ท้อง เอาไว้รับประทานเวลาที่รู้สึกคลื่นไส้ เพราะจะช่วยบรรเทาอาการได้ค่ะ ไม่ต้องพึ่งยาแก้เมา หรือยาแก้แพ้ท้อง ลองใช้ขิงดองดูนี่ล่ะค่ะ เด็ด !

ช่วยล้างปากเวลารับประทานอาหาร


      สำหรับหลายคนที่สงสัยว่าทำไมเวลาไปรับประทานอาหารญี่ปุ่นแล้วบนจานอาหารญี่ปุ่นจะมีขิงดอง คำตอบก็คือขิงดองเหล่านั้นมีไว้รับประทานล้างปากค่ะ โดยส่วนใหญ่ในการรับประทานอาหารญี่ปุ่น จะรับประทานขิงดองตามเข้าไปหลังจากรับประทานอาหารจานนั้นหมดแล้ว เพื่อไม่ให้รสชาติอาหารจานเดิมติดอยู่ในปากจนทำให้รู้สึกเลี่ยนและรับประทานจานต่อไปไม่ไหว อีกทั้งยังทำให้ลิ้มรสอาหารจานต่อไปได้อย่างเต็มที่อีกด้วย

โซเดียมต่ำ

        แม้ขิงดองจะมีรสจัด แต่น่าแปลกที่ขิงดองเป็นอาหารที่มีโซเดียมต่ำมากเมื่อเทียบกับอาหารหมักดองชนิดอื่น ๆ เมื่อนำมารับประทานแล้วก็ทำให้ไม่ต้องกังวลกับปริมาณโซเดียม ลดความเสี่ยงที่จะเกิดความดันโลหิตสูงลงไปได้อีกเยอะเลย

ข้อควรระวังในการทานขิง

- อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ได้

        มีบางการศึกษาพบว่าขิงมีความเชื่อมโยงกับภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์และการแท้ง แต่ในการตั้งครรภ์รายอื่น ๆ นั้นไม่พบว่าการรับประทานขิงจะทำให้เกิดอาการเหล่านั้นขึ้น แถมยังช่วยลดอาการคลื่นไส้จากการแพ้ท้องได้อีกด้วย ดังนั้นคุณควรไปปรึกษาแพทย์ก่อนจะที่ใช้ขิงในการรักษาอาการแพ้ท้องด้วยตนเองค่ะ

- ทำให้เกิดแผลร้อนในภายในปากได้

        ขิงเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อน ถ้าหากรับประทานเข้าไปในปริมาณที่มากก็จะสามารถเยื่อบุภายในช่องปากเกิดการอักเสบจนเป็นอาการร้อนในได้ ดังนั้นไม่ควรรับประทานขิงมากจนเกินไปค่ะ

ยับยั้งการแข็งตัวของเลือด 

        การศึกษาหนึ่งในออสเตรเลียพบว่า ขิงนั้นมีสรรพคุณในการต้านการแข็งตัวของเลือดมากกว่ายาแอสไพริน สถาบันสุขภาพของออสเตรเลียได้ออกคำเตือนให้งดการรับประทานขิงในขณะที่ใช้ยาละยลิ่มเลือดเพราะจะทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดอาการห้อเลือดหรืออาการเลือดออกได้ ดังนั้นถ้าหากคุณมีอาการเลือดออกผิดปกติหรือกำลังใช้ยาละลายลิ่มเลือด ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานขิงค่ะ

   สำหรับขิงนั้นมีสรรพคุณในการต้านการแข็งตัวของเลือด ถ้าหากคุณมีอาการเลือดออกผิดปกติหรือกำลังใช้ยาละลายลิ่มเลือด ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานขิงค่ะ


วันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2560

2.ขี้เหล็ก
                                Image result for ขี้เหล็ก

 ขี้เหล็ก (Cassod tree) เป็นพืชท้องถิ่นที่นิยมนำยอดอ่อน และดอกอ่อนมาทำอาหาร โดยเฉพาะในเมนูแกงต่างๆ เนื่องจากยอดอ่อน และดอกอ่อน ให้รสขมเล็กน้อย และมีความนุ่ม นอกจากนั้น ทั้งยอดอ่อน ดอกอ่อน และส่วนอื่นๆยังนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรรักษา และบรรเทาอาการต่างๆได้หลายโรค 
 ขี้เหล็ก ชื่อวิทยาศาสตร์ Senna siamea (Lam.) H.S.Irwin & Barneby (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cassia siamea Lam.) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAEหรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)
 สมุนไพรขี้เหล็ก มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ขี้เหล็กแก่น (ราชบุรี), ขี้เหล็กบ้าน (ลำปาง,สุราษฎร์ธานี), ผักจี้ลี้ แมะขี้แหละพะโด (แม่ฮ่องสอน), ยะหา (ปัตตานี), ขี้เหล็กใหญ่ (ภาคกลาง), ขี้เหล็กหลวง (ภาคเหนือ), ขี้เหล็กจิหรี่ (ภาคใต้) เป็นต้น
 ลักษณะของต้นขี้เหล็ก เป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 8-15 เมตร ลำต้นมักคดงอ เปลือกมีสีเทาถึงน้ำตาลดำแตกเป็นร่องตื้น ๆ ตามยาว แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มแคบ ส่วนลักษณะของผลขี้เหล็ก มีลักษณะเป็นฝักแบนกว้าง 1.4 เซนติเมตร ยาว 15-23 เซนติเมตร มีความหนา มีสีน้ำตาล มีเมล็ดหลายเมล็ด
ขี้เหล็ก ลักษณะของใบขี้เหล็ก เป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับกัน ใบเป็นสีเขียวเข้ม มีใบย่อยรูปรี 5-12 คู่ กว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4 เซนติเมตร ที่ปลายสุดเป็นใบเดี่ยว ปลายใบเว้าตื้น โคนใบมน ขอบและแผ่นใบเรียบ โดยใบขี้เหล็ก 100 กรัมจะมีเบต้าแคโรทีน 1.4 มิลลิกรัม, ธาตุแคลเซียม 156 มิลลิกรัม, ธาตุฟอสฟอรัส 190 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 5.8 มิลลิกรัม, เส้นใยอาหาร 5.6 กรัม, โปรตีน 7.7 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 10.9 กรัม, พลังงาน 87 กิโลแคลอรี
 ลักษณะของดอกขี้เหล็ก จะออกดอกเป็นช่อแยกแขนงที่ปลายกิ่ง มีดอกสีเหลือง กลีบเลี้ยงกลมมี 3-4 กลีบ ปลายมน กลีบดอกมี 5 กลีบ ปลายมน โคนเรียว หลุดร่วงง่าย ก้านดอกจะยาว 1-1.5 เซนติเมตร และมีเกสรตัวผู้หลายเกสร และในบรรดาผักผลไม้ไทยทั้งหลาย ดอกขี้เหล็กก็จัดเป็นผักที่มีวิตามินซีสูงมากที่สุดเป็นอันดับ 1 โดยมีวิตามินซีมากถึง 484 มิลลิกรัมต่อดอกขี้เหล็ก 100 กรัม และยังมีเบต้าแคโรทีน 0.2 กรัม, ธาตุแคลเซียม 13 มิลลิกรัม, ธาตุฟอสฟอรัส 4 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 1.6 มิลลิกรัม, เส้นใยอาหาร 9.8 กรัม, โปรตีน 4.9 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 18.7 กรัม และให้พลังงาน 98 กิโลแคลอรี
ขี้เหล็ก เป็นพืชผักสมุนไพรที่หาได้ง่ายตามตลาด นอกจากจะนำมาใช้ทำเป็นอาหารไว้รับประทานแล้ว ในตำราการแพทย์แผนไทยยังได้มีการใช้ประโยชน์ของต้นขี้เหล็กในหลาย ๆ ด้าน เช่น ใช้แก้อาการท้องผูก บำรุงโลหิต บำรุงน้ำดี ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยกำจัดรังแค ทำความสะอาดผมทำให้ผมชุ่มชื่นเงางาม เป็นต้น และนอกจากนี้ขี้เหล็กยังมีสาร “บาราคอล” (Baracol) ที่มีฤทธิ์ในการกล่อมประสาท และมีฤทธิ์เป็นยานอนหลับอ่อน ๆ ทำให้นอนหลับสบาย แต่ก็ใช่ว่ามันจะได้ผลอย่างที่หลายคนเข้าใจ เพราะในกระบวนการปรุงอาหารให้ปลอดภัยก็ต้องต้มน้ำทิ้งเสียก่อน เพื่อลดความขมและความเฝื่อน ทำให้ความเป็นพิษและฤทธิ์ดังกล่าวลดน้อยลงไปด้วย โดยส่วนที่นำมาใช้และมีสรรพคุณทางยา ได้แก่ ดอก ใบ ใบแก่ ฝัก เปลือกฝัก เปลือกต้น ลำต้น กิ่ง แก่น ทั้งต้น และราก
โทษของขี้เหล็ก การรับประทานขี้เหล็กในลักษณะที่นำใบขี้เหล็กไปตากแห้งแล้วบรรจุเป็นเม็ด อาจทำให้เกิดการเสื่อมและการตายของเซลล์ตับ หรืออาจทำให้เกิดภาวะตับอักเสบ ทำให้เกิดโรคตับได้ ซึ่งการรับประทานขี้เหล็กอย่างปลอดภัย ต้องเลือกใบเพสลาดหรือตั้งแต่ยอดอ่อนถึงใบขนาดกลาง และนำไปต้มให้เดือด เทน้ำทิ้งสัก 2-3 น้ำ แล้วค่อยนำมาปรุงอาหารหรือนำไปทำเป็นยา ซึ่งวิธีการแบบพื้นบ้านนี้จะช่วยฆ่าฤทธิ์และทำลายสารที่เป็นอันตรายต่อตับได้ และยังช่วยลดความขมลงอีกด้วย

ประโยชน์ของขี้เหล็ก

  1. ใบขี้เหล็กมีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูง ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง (ใบ)
  2. ดอกขี้เหล็กมีวิตามินที่ช่วยบำรุงและรักษาสายตา (ดอก)
  3. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค ป้องกันหวัด ช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้น (ดอก)
  4. ช่วยบำรุงธาตุ (ราก)
  5. แก้ธาตุพิการ แก้ไฟ ทำให้ตัวเย็น (แก่น)
  6. ช่วยเจริญธาตุไฟ (ราก)
  7. ช่วยแก้โรคกระษัย (ราก, ลำต้นและกิ่ง, เปลือกต้น, ทั้งต้น)
  8. ช่วยรักษาอาการตัวเหลือง (ทั้งต้น)
  9. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน (ใบ, แก่น)
  10. ช่วยลดความดันโลหิตสูง (ใบ)
  11. ช่วยรักษาวัณโรค (แก่น)
  12. ช่วยยับยั้งและชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง (ดอก)
  13. ช่วยรักษามะเร็งปอด ปอดอักเสบ มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะอาหาร (แก่น)
  14. ช่วยแก้อาการชักในเด็ก (ราก)
  15. แก้ไตพิการ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  16. ช่วยแก้อาการแสบตา (แก่น)
  17. ใบขี้เหล็กมีสารที่ชื่อว่า “แอนไฮโดรบาราคอล” (Anhydrobarakol) ที่มีสรรพคุณช่วยในการคลายความเครียด บรรเทาอาการจิตฟุ้งซ่าน (ใบ)
  18. ช่วยบำรุงสมอง บำรุงประสาท แก้โรคประสาท และช่วยสงบประสาท (ดอก)
  19. ช่วยทำให้นอนหลับสบาย แก้อาการนอนไม่หลับ ผ่อนคลายความกังวล ด้วยการใช้ใบขี้เหล็กแห้ง 30 กรัม (หรือใบสด 50 กรัม) นำมาต้มกับน้ำไว้ดื่มก่อนนอน หรือจะใช้ใบอ่อนทำเป็นยาดองเหล้า โดยใส่เหล้าขาวพอท่วมยา แช่ทิ้งไว้ 7 วันและคนทุกวันให้น้ำยาสม่ำเสมอ เมื่อครบให้กรองเอากากยาออก จะได้น้ำยาดองเหล้าขี้เหล็ก แล้วนำมาดื่มครั้งละ 1-2 ช้อนชาก่อนเข้านอน (ใบ, ดอก)
  20. ช่วยแก้ลมขึ้นเบื้องสูง เบื้องบน โลหิตขึ้นเบื้องบน ทำให้มีอาการระส่ำระสายในท้อง (ฝัก)
  21. ต้นขี้เหล็กช่วยรักษาหืด (ดอก)
  22. ช่วยรักษาโรคโลหิตพิการ ผายธาตุ (ดอก)
  23. สรรพคุณของขี้เหล็กช่วยบำรุงโลหิต (ใบ)
  24. ช่วยขับโลหิต (แก่น)
  25. ช่วยขับพิษโลหิต (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  26. แก้เลือดกำเดาไหล (ต้น, ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  27. ช่วยถ่ายพิษไข้ แก้ไข้กลับซ้ำ แก้ไข้หนาว ไข้ผิดสำแดง (ราก)
  28. ช่วยดับพิษไข้ (เปลือกต้น, ทั้งต้น)
  29. ช่วยแก้พิษไข้เพื่อน้ำดี พิษไข้เพื่อเสมหะ (เปลือกต้น, ฝัก)
  30. ช่วยแก้พิษเสมหะ (ทั้งต้น)
  31. ช่วยกำจัดเสมหะ (ใบ)
  32. ช่วยขับมุตกิด กัดเถาดาน กัดเสมหะ และกัดเมือกในลำไส้ (เปลือกฝัก)
  33. ขี้เหล็กมีสรรพคุณช่วยแก้ร้อนใน (ใบ)
  34. ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ดอก)
  35. แก้อาการเบื่ออาหาร ด้วยการใช้ใบขี้เหล็กแห้ง 30 กรัม (หรือใบสด 50 กรัม) นำมาต้มกับน้ำไว้ดื่มก่อนนอน หรือจะใช้ใบอ่อนทำเป็นยาดองเหล้า โดยใส่เหล้าขาวพอท่วมยา แช่ทิ้งไว้ 7 วันและคนทุกวันให้น้ำยาสม่ำเสมอ เมื่อครบให้กรองเอากากยาออก จะได้น้ำยาดองเหล้าขี้เหล็ก แล้วนำมาดื่มครั้งละ 1-2 ช้อนชาก่อนเข้านอน (ใบแห้ง, ใบอ่อน)
  36. ช่วยแก้อาการท้องผูก ด้วยการใช้ใบอ่อน 2-3 กำมือ หรือแก่นประมาณ 2 องคุลี ประมาณ 3-4 ชิ้น นำมาต้มกับน้ำครึ่งถ้วยแก้ว เติมเกลือเล็กน้อย ใช้ดื่มหลังตื่นนอนตอนเช้าหรือก่อนอาหารเช้าครั้งเดียว (ใบอ่อน, แก่น)
  37. ช่วยรักษาโรคบิด (ใบ)
  38. ใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย ด้วยการใช้ใบอ่อน 2-3 กำมือ หรือแก่นประมาณ 2 องคุลี ประมาณ 3-4 ชิ้น นำมาต้มกับน้ำครึ่งถ้วยแก้ว เติมเกลือเล็กน้อย ใช้ดื่มหลังตื่นนอนตอนเช้าหรือก่อนอาหารเช้าครั้งเดียว (ดอก, ใบ, แก่น, ลำต้นและกิ่ง, เปลือกต้น, ราก, ทั้งต้น)
  39. ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร (เปลือกต้น)
  40. สรรพคุณขี้เหล็กช่วยบำรุงน้ำดี (ทั้งต้น)
  41. ช่วยขับปัสสาวะ (ใบ, ลำต้น และกิ่ง)
  42. ช่วยรักษานิ่วในไต (ใบ, ลำต้น และกิ่ง)
  43. แกงขี้เหล็กช่วยรักษาโรคหนองใน (แก่น, ทั้งต้น)
  44. รักษาแผลกามโรค (ราก, แก่น)
  45. ช่วยแก้หนองใส (แก่น)
  46. ช่วยขับระดูขาว (ใบ, ลำต้น และกิ่ง)
  47. ช่วยฟอกโลหิตในสตรี (ต้น)
  48. ช่วยขับพยาธิ (ใบ, ดอก)
  49. ช่วยรักษาอาการเหน็บชา (ใบ, ราก)
  50. รากใช้ทาแก้อัมพฤกษ์ให้หย่อน (ราก)
  51. ช่วยทำให้เส้นเอ็นหย่อน (ทั้งต้น)
  52. แก้เส้นเอ็นพิการ (เปลือกฝัก)
  53. ช่วยรักษาโรคผิวหนัง (ลำต้นและกิ่ง)
  54. ช่วยรักษาโรคหิด (เปลือกต้น)
  55. ช่วยรักษาฝีมะม่วง (ใบ)
  56. ทางภาคใต้ใช้รากขี้เหล็กผสมกับสารส้ม นำมาทาแผลฝีหนอง (ราก)
  57. ช่วยแก้อาการฟกช้ำ (ราก, ลำต้น และกิ่ง)
  58. ประโยชน์ของขี้เหล็กช่วยแก้บวม (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  59. ช่วยรักษารังแค ด้วยการใช้ดอกขี้เหล็กผสมกับมะกรูดย่างไฟ 2 ลูก โดยต้องย่างให้มีรอยไหม้ที่ผิวมะกรูดด้วย ใช้ดอกขี้เหล็ก 2 ช้อนโต๊ะ พิมเสน 1 ช้อนชา นำมาปั่นผสมกันแล้วเติมน้ำปูนใส 100 cc. ปั่นจนเข้ากัน แล้วคั้นกรองเอาแต่น้ำ จากนั้นนำน้ำมันมะกอกเติมผสมเข้าไปประมาณ 60-100 cc. ผสมจนเข้ากันแล้วนำมาหมักผมทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีก่อนการสระผมทุกครั้ง จะช่วยรักษารังแคได้ (ดอก)
  60. ใช้ทำปุ๋ยหมัก (ใบแก่)
  61. ดอกและดอกอ่อนใช้รับประทานหรือทำเป็นแกงขี้เหล็กได้ (ดอก)

1.ผักหวานป่า

Image result for ผักหวานป่า


    ผักหวานป่าเป็นพืชที่มีแหล่งกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเรานี่เอง โดยสามารถพบได้ในทุกภาคของไทย ผักหวานป่ามีชื่อเรียกหลายชื่อเช่น มะยมป่า นางเย็น นางจุม ผักหวานเขา และผักหวานดง เป็นต้น
ผักหวานป่า ชื่อวิทยาศาสตร์ Melientha suavis Pierre จัดอยู่ในวงศ์OPILIACEAE (เป็นวงศ์พิเศษที่ยังไม่มีผักหรือผลไม้ชนิดใดที่อยู่ในวงศ์นี้)
ผักหวานป่า บางครั้งก็เรียกว่า ผักหวาน มีเรียกแปลกไปบ้างเฉพาะจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งจะเรียกผักหวานป่าว่า ผักวาน (เข้าใจว่าคงเพี้ยนมาจากผักหวานนั่นเอง)[1] ส่วนประเทศลาวจะเรียกว่า “Hvaan” กัมพูชาเรียกว่า “Daam prec” เวียดนามเรียกว่า “Rau” มาเลเซียเรียกว่า “Tangal” และประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า”Malatado”
หมายเหตุ : ผักหวานชนิดนี้เป็นผักหวานคนละชนิดกับผักหวานที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sauropus androgynus (L.) Merr. หรือที่ทั่วไปเรียกว่า ผักหวานบ้าน
ผักหวานป่า เป็นผักพื้นบ้านที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในพื้นที่ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง เนื่องจากเป็นผักที่มีรสชาติหวานอร่อย แต่หารับประทานได้ค่อนข้างยากเพราะผักชนิดนี้จะให้ผลผลิตในบางช่วงฤดูกาลเท่านั้น คือในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน และส่วนใหญ่จะเก็บมาจากป่า แต่ในปัจจุบันได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกผักหวานป่าเพื่อการค้ากันมากขึ้น ทำให้ในหลาย ๆ พื้นที่มีผลผลิตออกจำหน่ายมากขึ้น โดยแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญในประเทศไทยอยู่ที่จังหวัดสระบุรี และพื้นที่ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
 ประโยชน์ของผักหวานป่านั้นมีมากมายก็จริง แต่ก็มีข้อควรระวังในการบริโภค กล่าวคือ ควรบริโภคผักหวานป่าเฉพาะที่ปรุงสุกเท่านั้น เนื่องจากการรับประทานดิบๆอาจจะทำให้เกิดอาการแพ้และเมาได้ ดังนั้นจึงควรทำสุกก่อนทุกครั้งเพื่อที่จะสามารถได้รับประโยชน์ของผักหวานป่าอย่างเต็มที่


ประโยชน์ของผักหวานป่า 

1. ผักหวานสามารถนำมาปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่น แกงเลียง แกงจืด แกงส้ม เป็นต้น
2. นิยมนำผักหวานมาเป็นแกล้มอาหารรสจัดจำพวก ส้มตำและลาบ หรือจิ้มกับแจ่วและน้ำพริกได้ทุกชนิด
3. ประโยชน์ของผักหวานป่า คนโบราณนิยมนำมาทำยาสมุนไพรเพื่อรักษาโรคได้หลายชนิด
4. มีโปรตีน วิตามินซีและใยอาหารสูง ช่วยลดอาการเลือดออกตามไรฟันและช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี
5. รากผักหวานป่า สามารถนำมาต้มเพื่อแก้อาการปวดมดลูกและแก้ดีพิการ
6. แก่นต้นผักหวานสามาถนำมาต้มรับประทานแก้อาการปวดตามข้อ
7. แก้ร้อนในกระหายน้ำ ทำให้รู้สึกชุ่มชื่นขึ้น
8. ผักหวานอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง เช่น เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินซี และสารประกอบฟีนอลิก
9. ช่วยลดอาการไข้ ทำให้ไข้หายเร็วขึ้น
10.ประโยชน์ของผักหวานป่า นำมาทำชาผักหวานป่า ดื่มแก้ร้อนในและต้านอนุมูลอิสระ
11.ผักหวานป่ามีประโยชน์แก้อาการกระสับกระส่าย
12. ผักหวานป่ามีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูง มีประโยชน์ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
13. นิยมนำมาเป็นส่วนประกอบของยาแผนไทยเพื่อแก้ธาตุไฟ
14. ประโยชน์ของผักหวานป่าช่วยเพิ่มน้ำนมแม่หลังการคลอดบุตรได้ โดยนำมาต้มรวมกับต้นนมสาว
15.ใบและรากสามารถนำมาตำเพื่อรักษาแผลได้ ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น

   สำหรับผักหวานป่านะคะ ก็มีสรรพคุณมากมายจนนับไม่ถ้วนเลยนะคะ และสามารถนำไปปรุงอาหารได้อย่างไม่น่าเชื่ออีกด้วยค่ะ

42.ใบเตย เตย เตย  หรือ  เตยหอม   ชื่อสามัญ Pandan leaves, Fragrant pandan, Pandom wangi เตย ชื่อวิทยาศาสตร์  Pandanus amarylli...