วันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2560

14.ยอ

Related image

ยอ ชื่อสามัญ Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่งที่ปลูกหรือภาษา เช่น Noni (จากฮาวาย), Meng kudu (มาเลเซีย), Ach (ฮินดู)
ยอ ชื่อวิทยาศาสตร์ Morinda citrifolia L. จัดอยู่ในวงศ์เข็ม (RUBIACEAE)
สมุนไพรยอ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ยอ แย่ใหญ่ (แม่ฮ่องสอน), ตาเสือ มะตาเสือ (ภาคเหนือ), ยอบ้าน (ภาคกลาง) เป็นต้น
ต้นยอเป็นพืชพื้นเมืองในแถบโพลีนีเซียตอนใต้ (Polynesia) และแพร่กระจายไปยังประเทศอื่น ๆ โดยมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ ยอบ้านและยอป่า ที่เราพบเห็นกันบ่อย ๆ ก็คือยอบ้าน ยอเป็นไม้ยืนต้น มีใบสีเขียว มีดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบ ลักษณะของผลยาวรี ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีขาวนวล มีเนื้อนุ่ม ในผลมีเมล็ดจำนวนมาก มีสีน้ำตาล สำหรับรสชาติจะออกรสเผ็ดและมีกลิ่นแรง
ลูกยอจัดเป็นยาสมุนไพรที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในเรื่องการช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน และถูกบรรจุอยู่ในยาสมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐานโดยลูกยอสุกเป็นยาชั้นเลิศในการช่วยขับลมและช่วยย่อยอาหาร แต่สำหรับหญิงที่ตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานผลยอ เพราะจะมีผลโดยตรงต่อระบบการหมุนเวียนของเลือดในครรภ์ และอาจทำให้แท้งบุตรได้ !
ลูกยอ อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลากชนิด โดยลูกยอบดจะประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรต เส้นใยอาหาร วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบี 3 ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุโพแทสเซียม ธาตุโซเดียม เป็นต้น แต่ถ้าคั้นเอาแต่น้ำลูกยอจะเหลือแต่วิตามินซี นอกจากนี้ลูกยอยังมีสารอื่น ๆ อีกด้วย เช่น กรดไขมัน ลิกนิน พอลิแซ็กคาไรด์ ฟลาโอนอยด์ อีริดอยด์ สโครโปเลติน แอลคาลอยด์ (แต่ยังไม่เพียงพอที่จะสรุปได้ว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายจริง ๆ)

สรรพคุณของลูกยอ

  1. ลูกยอเป็นแหล่งของแคลเซียมและยังมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง
  2. ช่วยในการชะลอวัยและความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย
  3. ช่วยบำรุงผิวพรรณ หนังศีรษะและผม
  4. ช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ (น้ําลูกยอ)
  5. สารสโคโปเลติน (Scopoletin) ในน้ำลูกยอมีฤทธิ์ในการขยายหลอดเลือดที่หดตัว ทำให้ความดันโลหิตลดลงจนเป็นปกติ (ลูกยอ, น้ําลูกยอ)
  6. มีส่วนช่วยรักษาโรคเบาหวาน (น้ำสกัดจากใบยอ)
  7. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง (น้ำสกัดจากลำต้นยอ, น้ำสกัดจากใบยอ)
  8. ช่วยรักษาโรคกรดไหลย้อน ด้วยการทำเป็นเครื่องดื่ม ใช้คู่กับหัวหญ้าแห้วหมู อย่างแรกให้เลือกลูกยอห่าม นำมาหั่นเป็นแว่น ๆ ไม่บางหรือหนาจนเกินไป แล้วนำไปย่างไฟอ่อน ๆ (ปกติลูกยอจะมีกลิ่นเหม็น) โดยย่างให้เหลืองกรอบและย่างจนหมดกลิ่นเหม็นจริง ๆ จึงจะได้ตัวยาที่หอมน่ารับประทาน (การย่างจะนอกจากจะช่วยดับกลิ่นแล้วยังช่วยเพิ่มความเป็นด่างให้กับตัวยาด้วย จึงช่วยซับกรดและลดกรดได้อย่างมีประสิทธิภาพ) สำหรับหญ้าแห้วหมูให้เอาส่วนหัวใต้ดินที่เราเรียกว่าหัวแห้วหมู นำไปคั่วให้เหลืองและมีกลิ่นหอม เมื่อเสร็จแล้วให้ตั้งไฟต้มน้ำจนเดือดแล้วเอาตัวยาทั้งสองชนิดลงไปต้มพร้อมกัน ใส่น้ำตาลกรวดพอหวาน ทิ้งไว้สักพักแล้วยกลงจากเตา ตัวยาที่ได้นี้จะมีกลิ่นหอม รอจนอุ่นแล้วนำมารับประทาน ส่วนที่เหลือให้กรองเอาแต่น้ำแช่ไว้ในตู้เย็นแล้วค่อยอุ่นรับประทาน ให้ดื่มติดต่อกัน 1 สัปดาห์แล้วสังเกตอาการ
  9. ช่วยแก้วัณโรค ด้วยการใช้ผลหรือใบทำเป็นยาพอก (ลูกยอ, ใบยอ)
  10. ลูกยอมีสารโปรซีโรนีน (Proxeronine) เมื่อรวมตัวกับเอนไซม์โปรซีโรเนส (Proxeronase) จะได้สารซีโรนีน (Xeronine) ที่ลำไส้ใหญ่ เมื่อดูดซึมกลับสู่เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย จะช่วยปรับสภาพเซลล์ให้มีความสมดุลและแข็งแรง และช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานได้เป็นอย่างดี
Image result for น้ำยอ

ประโยชน์ของลูกยอ




  1. ลูกยอสุก นำมาจิ้มกินกับเกลือหรือกะปิ
  2. ลูกห่ามใช้ทำส้มตำ
  3. ใบอ่อน นำมาลวกกินกับน้ำพริก ใช้ทำแกงจืด แกงอ่อม ผัดไฟแดง หรือนำมาใช้รองกระทงห่อหมก (เวลากินห่อหมกควรกินใบยอด้วย เพราะมีวิตามินสูง)
  4. นำมาใช้ทำสีย้อมผ้า รากนำมาใช้ย้อมสีให้สีแดงและสีน้ำตาลอ่อน ส่วนเปลือกจะให้สีแดง เนื้อเปลือกจะให้สีเหลืองใช้ย้อมผ้าบาติก
  5. ปัจจุบันมีการนำลูกไปแปรรูปโดยคั้นเป็น น้ําลูกยอ Noni หรือ น้ําลูกยาโนนิ
  6. รากยอมีการนำมาใช้แกะสลัก ทำรงควัตถุสีเหลือง
  7. ใบสดมีการนำมาใช้ทำเป็นอาหารสัตว์ หรือนำมาเลี้ยงตัวหนอนไหม
  8. ลูกยอสุกมีการนำมาใช้ทำเป็นอาหารหมู
  9. มีการนำมาใช้ทำเป็นยารักษาสัตว์ (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
หมายเหตุ ประโยชน์ของลูกยอบางประการข้างต้นยังอยู่ในระดับการศึกษาเริ่มต้นเท่านั้น และยังเร็วเกินไปที่จะสรุปได้ว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพมากน้อยแค่ไหน ซึ่งในทางวิทยาศาสตร์ยังคงต้องรอการพิสูจน์ต่อไป ดังนั้นโปรดใช้วิจารณญาณให้มาก

วันพุธที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2560

13.กระชาย

Image result for กระชาย



    กระชาย ได้ชื่อว่าเป็น โสมไทย ในวงการแพทย์แผนไทย เพราะเป็นพืชสมุนไพรของไทยที่มีสรรพคุณคล้ายกับ โสมเกาหลี และยังมีรูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกับโสมด้วย สรรพคุณโดดเด่นที่เหมือนกันคือการบำรุงกำลังและเสริมสมรรถภาพทางเพศ อีกทำยังมีการเจริญเติบโตใกล้เคียงกัน นอกจากความโดดเด่นเรื่องสรรพคุณที่เหมือนกับโสมแล้ว กระชายยังจัดว่าเป็น “พืชมงคล” เนื่องจากสมัยโบราณหมอยาจะนำกระชายมารักษาคนเฒ่าคนแก่แล้วหายดีเป็นปลิดทิ้ง กระชายจึงถือเป็นพืชสมุนไพรมงคลที่เชื่อว่านำมาปลูกไว้หน้าบ้านจะช่วยปัดเป่าโรค ทำให้คนในบ้านไร้โรคภัยไข้เจ็บ เป็นสิริมงคลให้กับผู้ที่อยู่ในบ้าน

Image result for กระชายสรรพคุณกระชาย
1.ช่วยบำรุงตับ ไต แข็งแรง
2.ช่วยฟื้นฟูต่อมไทรอยด์ ต่อมใต้สมอง

3.ช่วยบำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง กระดูกไม่เปราะบาง
4.ช่วยให้เส้นผมไม่หงอกก่อนวัยเล็บมือ เล็บเท้า แข็งแรง
5.ช่วยปรับสมดุลความดันโลหิตให้พอดี ไม่ให้สูงมากหรือต่ำมากเกินไป

6.ช่วยบำรุงหัวใจ ระบบกล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง เต้นสม่ำเสมอ ช่วยให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจได้ดีขึ้น

7.ช่วยปรับฮอร์โมนเพศหญิง คือ เอสโตรเจน และฮอร์โมนเพศชาย คือ เทสโทสเตอโรน ซึ่งอยู่ในร่างกายทุกคน ไม่ว่าผู้หญิงหรือชาย
  แม้สมุนไพรฉายา “โสมไทย” จะมีข้อดีมากมาย อีกทั้งยังราคาถูกกว่าโสมเกาหลี แต่กระชายก็มีโทษจากผลข้างเคียงหากกินมากเกินไป โดยเฉพาะกระชายที่ออกฤทธิ์แรงอย่าง “กระชายดำ” ซึ่งจะทำให้เกิดอาการเหงือกบวม เหงือกร่น และความแรงของฤทธิ์กระชายดำจะทำให้เกิดอาการใจสั่น ใจเต้นแรงเหมือนดื่มกาแฟได้เช่นกัน จึงไม่ควรใช้กระชายในการบำรุงรักษาผู้ป่วยโรคตับ และเด็กเล็ก
ดังนั้นก่อนจะเลือกกินสมุนไพรบำรุงร่างกาย อย่าเพียงอ่านแค่สรรพคุณแต่ต้องศึกษาผลข้างเคียงหรืออาการแพ้ของผู้ป่วยด้วย ทางที่ดีคือควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะเลือกใช้สมุนไพรรักษาโรค เพราะสมุนไพรมีทั้งข้อดีและข้อเสียอยู่ในตัวเหมือนกัน รู้เท่าทัน เพื่อห่างไกลโทษของกระชายกันนะคะ


12.ใบบัวบก
   
Image result for ใบบัวบก

สรรพคุณของใบบัวบก ในการรักษาโรค



 1. แก้ปัญหาเส้นเลือดขอด

     เมื่อหลอดเลือดสูญเสียความยืดหยุ่นก็ทำให้หลอดเลือดดำเกิดการฉีกขาดและทำให้เลือดไหลออกมาคั่งอยู่บริเวณขา เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการบวมที่เรียกว่าอาการเส้นเลือดขอดนั่นเอง โดยมีการศึกษาพบว่าการรับประทานใบบัวบก สามารถลดอาการบวมและกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดให้ดีขึ้น โดยในการศึกษานั้นได้ทำการทดลองกับอาสาสมัครกว่า 90 คน ที่มีอาการของเส้นเลือดขอด และเมื่อรับประทานใบบัวบกเข้าไปแล้วก็พบว่าอาการเส้นเลือดขอดนั้นดีขึ้นเมื่อเทียบกับผู้ที่รับประทานยาหลอก และเมื่อทำการอัลตราซาวด์ก็พบว่าผู้ที่รับประทานใบบัวบกมีการรั่วไหลของหลอดเลือดดำลดลงค่ะ

 2. สมานแผลและรักษาโรคผิวหนังบางชนิด


     หนึ่งในสารสำคัญที่ส่งผลให้ใบบัวบกกลายเป็นสมุนไพรที่มากสรรพคุณก็คือสารไตรเตอร์ปินอยด์(Triterpenoids) ที่มีการศึกษากับสัตว์แล้วพบว่าสามารถช่วยสมานบาดแผลได้ นั่นก็เป็นเพราะว่าสารดังกล่าวจะทำหน้าที่ในการเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระให้กับบาดแผล และช่วยกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนไปยังบริเวณบาดแผลมากขึ้น ส่งผลให้บาดแผลค่อย ๆ หายดีขึ้นในระยะเวลาที่น้อยลง อีกทั้งสารจากใบบัวบกก็ยังช่วยป้องกันการเกิดแผลเป็นได้อีกด้วย วิธีใช้ก็ไม่จำเป็นต้องนำใบบัวบกมาตำแล้วพอกให้ยาก เพราะเดี๋ยวนี้มีแบบที่เป็นครีมผสมสารสกัดไว้ทาโดยเฉพาะ แค่เพียงเลือกให้เหมาะกับชนิดบาดแผลก็ช่วยได้มากเลยล่ะ

 3. ระบายความร้อน 

          ความร้อนในร่างกายหากสูงมากเกินไปอาจจะทำให้ร่างกายเกิดอาการไข้ ตัวร้อน กระหายน้ำ ตลอดจนการอักเสบ ดังนั้นการรับประทานใบบัวบกที่มีฤทธิ์เย็น จึงสามารถช่วยลดความร้อนในร่างกายได้ อีกทั้งยังช่วยขับพิษร้อนออกจากร่างกายได้อีกด้วย

 4. ขับพิษร้อน และความชื้น

          โรคต่าง ๆ ที่เกิดจากความร้อนและความชื้น อาทิ ดีซ่าน นิ่วในทางเดินปัสสาวะ หรือโรคบิด สามารถบรรเทาได้ด้วยการรับประทานใบบัวบก เนื่องจากใบบัวบกนั้นมีฤทธิ์ขมเย็น สามารถช่วยสลายความชื้นในร่างกายและขับความร้อนออกมาได้ แต่ก็ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม เพราะหากรับประทานมาก ๆ อาจจะทำให้ร่างกายเย็นจนเกินไปและเป็นอันตรายได้

Image result for บัวบก

5. ลดความกระวนกระวาย ช่วยให้จิตใจสงบ


          สารไตรเตอร์ปินอยด์ (Triterpenoids) ซึ่งเป็นสารที่อยู่ในใบบัวบกนั้น นอกจากจะช่วยในการสมานแผลและรักษาโรคผิวหนังบางชนิดได้แล้วก็ยังมีฤทธิ์ในการลดความกระวนกระวายและช่วยกระตุ้นกลไกการทำงานของสมอง โดยมีการศึกษาหนึ่งพบว่าผู้ที่รับประทานใบบัวบกมีแนวโน้มที่จะตกใจกับเสียงรบกวนน้อยกว่าผู้ที่รับประทานยาหลอก แต่ก็ต้องใช้ในปริมาณที่สูงมากจึงยังไม่มีการยืนยันแน่ชัดว่าควรใช้ปริมาณใดจึงจะได้ผลและไม่ส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพตามมาค่ะ

 6. รักษาโรคหนังแข็ง


          เนื่องจากใบบัวบก มีฤทธิ์ในการลดการอักเสบต่าง ๆ ในร่างกาย จึงสามารถใช้บรรเทาอาการของผู้ป่วยโรคหนังแข็งได้ โดยมีการศึกษากับผู้หญิง 13 คนที่มีอาการของโรคหนังแข็งพบว่า การใช้ใบบัวบกสามารถลดอาการปวดตามข้อ และลดการเกิดหนังแข็ง รวมทั้งทำให้การเคลื่อนไหวของนิ้วมือเป็นไปในทางที่ดีขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ต้องอยู่ในปริมาณที่แพทย์ควบคุมเท่านั้น

 7. ช่วยบรรเทาอาการนอนไม่หลับ

          ใครที่มักจะนอนไม่หลับบ่อย ๆ ลองหาใบบัวบกมารับประทานก็ดีเหมือนกันนะ เพราะใบบัวบกไม่เพียงแต่ช่วยลดความกระวนกระวายเท่านั้น แต่ก็ยังช่วยให้จิตใจสงบและผ่อนคลายลงได้ ทำให้สามารถนอนหลับได้ง่ายขึ้น โดยแค่เพียงรับประทานเป็นประจำก่อนนอน ก็จะช่วยให้การนอนหลับดีขึ้นได้อย่างน่าอัศจรรย์เลย

Image result for ใบบัวบก

8. ลดความดันโลหิต

          กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้ออกมาแนะนำว่าใบบัวบกเป็นหนึ่งในสมุนไพรที่ช่วยลดความดันโลหิตได้ เพราะเจ้าใบบัวบกนั้นจะไปทำให้หลอดเลือดดำและเส้นเลือดฝอยแข็งแรงขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดภาวะความเครียดอันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง ทั้งนี้วิธีการรับประทานก็ไม่ยาก เพียงแค่นำใบบัวบกไปคั้นน้ำแล้วนำมาดื่ม จะนำไปผสมกับน้ำผึ้งสักเล็กน้อย หรือผสมกับน้ำผลไม้อื่น ๆ เพื่อลดความเหม็นเขียวก็ทำได้ค่ะ
 9. ลดอาการบวม

          อาการบวมช้ำมีสาเหตุมาจากการที่ระบบไหลเวียนเลือดบริเวณดังกล่าวทำงานผิดปกติส่งผลให้เกิดอาการคั่งของเลือด การรับประทานใบบัวบกไม่ว่าจะเป็นแบบน้ำคั้นดื่ม หรือแบบที่เป็นสารสกัดแคปซูล สามารถช่วยลดอาการบวมช้ำบริเวณบาดแผลได้ รวมทั้งยังลดอาการอักเสบที่ทำให้เกิดอาการบวมได้อีกด้วย

10. บำรุงสมอง

          ใบบัวบกเป็นพืชอีกชนิดที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยป้องกันสารอนุมูลอิสระเข้าไปทำลายเซลล์สมอง รวมทั้งช่วยคลายความอ่อนล้าของสมอง เพิ่มการทำงานของสมองและความจำ แถมยังสามารถลดภาวะซึมเศร้า และสามารถช่วยยับยั้งอาการของโรคอัลไซเมอร์ที่เกิดขึ้นในสมองได้ 



 11. รักษาอาการติดเชื้อ

          ใบบัวบกเป็นสมุนไพรอีกหนึ่งชนิดที่ช่วยรักษาโรคไข้หวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ แถมช่วยรักษาอาการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ รวมทั้งอาการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสต่าง ๆ ได้อีกมากมาย เรียกได้ว่าไม่ว่าจะติดเชื้ออะไรก็ตาม ใบบัวบกสามารถช่วยรักษาได้หมด แต่ทั้งนี้ก็ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม และภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญนะ

 12. บรรเทาอาการอ่อนเพลีย

          นอกจากรักษาอาการป่วยต่าง ๆ แล้ว ใบบัวบกยังสามารถช่วยฟื้นฟูร่างกายจากความอ่อนเพลียได้ และถ้าหากรับประทานในช่วงอากาศร้อน ๆ ด้วยละก็ น้ำใบบัวบกก็สามารถช่วยลดความร้อนในร่างกายและดับกระหายได้เป็นอย่างดีเลยเชียวล่ะ



 13. บำรุงผิวพรรณให้อ่อนเยาว์

          ใบบัวบก เป็นอีกหนึ่งในสมุนไพรเพื่อความงามที่อยู่ใกล้ตัวมาก ๆ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะใบบัวบกมีสารที่ช่วยส่งเสริมการสร้างคอลลาเจนและอิลาสตินในร่างกาย ช่วยให้ผิวพรรณนุ่มชุ่มชื้น ดูอ่อนเยาว์ นอกจากนี้สารต้านอนุมูลอิสระในใบบัวบกก็ยังช่วยยับยั้งการเกิดริ้วรอยแห่งวัย จึงไม่น่าแปลกเลยล่ะถ้าคุณจะได้เห็นชื่อของเจ้าใบบัวบกเป็นหนึ่งในส่วนผสมของเครื่องประทินผิว ทั้งนี้ยังสามารถนำใบบัวบกสด ๆ มาใช้พอกหน้าได้อีกด้วย

 14. กำจัดเซลลูไลท์

          สาว ๆ ที่หนักใจกับเซลลูไลท์ที่เป็นศัตรูความงามของคุณสาว ๆ อยู่ ขอบอกใบบัวบกช่วยคุณได้ค่ะ แค่เพียงรับประทานใบบัวบกเป็นประจำก็จะช่วยให้เซลล์ไขมันเซลลูไลท์ถูกขับออกมาจากร่างกายได้ง่ายขึ้น รวมทั้งช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้ดีขึ้น และลดการอักเสบอันเกิดจากเซลลูไลท์ได้อีกด้วยล่ะ

 15. บำรุงเส้นผมและหนังศีรษะ

          หลาย ๆ คนที่มีปัญหาเกี่ยวกับผมร่วงก็คงเสาะหาทุกวิถีทางเพื่อบำรุงให้เส้นผมและหนังศีรษะแข็งแรงเพื่อที่จะได้มีผมดกดำ ใบบัวบกก็เป็นอีกสมุนไพรหนึ่งที่มีสรรพคุณโดดเด่นในด้านนี้ โดยปัญหาผมร่วงส่วนใหญ่ก็เกิดจากรากผมที่อ่อนแอและการไหลเวียนของเลือดบนหนังศีรษะไม่ดี ซึ่งใบบัวบกนี้มีฤทธิ์ในการกระตุ้นการไหลเวียนเลือดบริเวณหนังศีรษะ และยังช่วยบำรุงให้รากผมแข็งแรง ป้องกันผมร่วงทำให้ผมที่ขึ้นใหม่มีความแข็งแรงและดกดำเงางามได้โดยไม่ต้องพึ่งสารเคมีแต่อย่างใด


     อย่างไรก็ดี แม้สรรพคุณและประโยชน์ของใบบัวบกจะมีมาก แต่หากจะใช้ใบบัวบกในการรักษาสุขภาพ จำเป็นต้องพิจารณาพื้นฐานร่างกายของแต่ละคนด้วย คนที่มีร่างกายขี้หนาวจะไม่เหมาะกับใบบัวบก เนื่องจากมีฤทธิ์เป็นยาเย็นมาก ซึ่งเหมาะกับคนขี้ร้อนมากกว่า หรือในบางคนที่มีอาการแพ้สารบางอย่างในใบบัวบกก็อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ ควรหยุดใช้ทันที


          ได้เห็นประโยชน์ดี ๆ ของใบบัวบกกันไปแล้ว ใครที่ยังส่ายหน้าให้กับกลิ่นเขียว ๆ ของใบบัวบก ก็น่าจะลองหันกลับมามองเสียใหม่ ถึงแม้ว่าอาจจะมีกลิ่นฉุนไปหน่อย แต่ประโยชน์ที่ได้รับก็ดีไม่น้อยเลย ถ้าไม่ลองเสียดายแย่เลยนะคะ





42.ใบเตย เตย เตย  หรือ  เตยหอม   ชื่อสามัญ Pandan leaves, Fragrant pandan, Pandom wangi เตย ชื่อวิทยาศาสตร์  Pandanus amarylli...