วันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2560

14.ยอ

Related image

ยอ ชื่อสามัญ Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่งที่ปลูกหรือภาษา เช่น Noni (จากฮาวาย), Meng kudu (มาเลเซีย), Ach (ฮินดู)
ยอ ชื่อวิทยาศาสตร์ Morinda citrifolia L. จัดอยู่ในวงศ์เข็ม (RUBIACEAE)
สมุนไพรยอ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ยอ แย่ใหญ่ (แม่ฮ่องสอน), ตาเสือ มะตาเสือ (ภาคเหนือ), ยอบ้าน (ภาคกลาง) เป็นต้น
ต้นยอเป็นพืชพื้นเมืองในแถบโพลีนีเซียตอนใต้ (Polynesia) และแพร่กระจายไปยังประเทศอื่น ๆ โดยมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ ยอบ้านและยอป่า ที่เราพบเห็นกันบ่อย ๆ ก็คือยอบ้าน ยอเป็นไม้ยืนต้น มีใบสีเขียว มีดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบ ลักษณะของผลยาวรี ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีขาวนวล มีเนื้อนุ่ม ในผลมีเมล็ดจำนวนมาก มีสีน้ำตาล สำหรับรสชาติจะออกรสเผ็ดและมีกลิ่นแรง
ลูกยอจัดเป็นยาสมุนไพรที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในเรื่องการช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน และถูกบรรจุอยู่ในยาสมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐานโดยลูกยอสุกเป็นยาชั้นเลิศในการช่วยขับลมและช่วยย่อยอาหาร แต่สำหรับหญิงที่ตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานผลยอ เพราะจะมีผลโดยตรงต่อระบบการหมุนเวียนของเลือดในครรภ์ และอาจทำให้แท้งบุตรได้ !
ลูกยอ อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลากชนิด โดยลูกยอบดจะประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรต เส้นใยอาหาร วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบี 3 ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุโพแทสเซียม ธาตุโซเดียม เป็นต้น แต่ถ้าคั้นเอาแต่น้ำลูกยอจะเหลือแต่วิตามินซี นอกจากนี้ลูกยอยังมีสารอื่น ๆ อีกด้วย เช่น กรดไขมัน ลิกนิน พอลิแซ็กคาไรด์ ฟลาโอนอยด์ อีริดอยด์ สโครโปเลติน แอลคาลอยด์ (แต่ยังไม่เพียงพอที่จะสรุปได้ว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายจริง ๆ)

สรรพคุณของลูกยอ

  1. ลูกยอเป็นแหล่งของแคลเซียมและยังมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง
  2. ช่วยในการชะลอวัยและความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย
  3. ช่วยบำรุงผิวพรรณ หนังศีรษะและผม
  4. ช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ (น้ําลูกยอ)
  5. สารสโคโปเลติน (Scopoletin) ในน้ำลูกยอมีฤทธิ์ในการขยายหลอดเลือดที่หดตัว ทำให้ความดันโลหิตลดลงจนเป็นปกติ (ลูกยอ, น้ําลูกยอ)
  6. มีส่วนช่วยรักษาโรคเบาหวาน (น้ำสกัดจากใบยอ)
  7. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง (น้ำสกัดจากลำต้นยอ, น้ำสกัดจากใบยอ)
  8. ช่วยรักษาโรคกรดไหลย้อน ด้วยการทำเป็นเครื่องดื่ม ใช้คู่กับหัวหญ้าแห้วหมู อย่างแรกให้เลือกลูกยอห่าม นำมาหั่นเป็นแว่น ๆ ไม่บางหรือหนาจนเกินไป แล้วนำไปย่างไฟอ่อน ๆ (ปกติลูกยอจะมีกลิ่นเหม็น) โดยย่างให้เหลืองกรอบและย่างจนหมดกลิ่นเหม็นจริง ๆ จึงจะได้ตัวยาที่หอมน่ารับประทาน (การย่างจะนอกจากจะช่วยดับกลิ่นแล้วยังช่วยเพิ่มความเป็นด่างให้กับตัวยาด้วย จึงช่วยซับกรดและลดกรดได้อย่างมีประสิทธิภาพ) สำหรับหญ้าแห้วหมูให้เอาส่วนหัวใต้ดินที่เราเรียกว่าหัวแห้วหมู นำไปคั่วให้เหลืองและมีกลิ่นหอม เมื่อเสร็จแล้วให้ตั้งไฟต้มน้ำจนเดือดแล้วเอาตัวยาทั้งสองชนิดลงไปต้มพร้อมกัน ใส่น้ำตาลกรวดพอหวาน ทิ้งไว้สักพักแล้วยกลงจากเตา ตัวยาที่ได้นี้จะมีกลิ่นหอม รอจนอุ่นแล้วนำมารับประทาน ส่วนที่เหลือให้กรองเอาแต่น้ำแช่ไว้ในตู้เย็นแล้วค่อยอุ่นรับประทาน ให้ดื่มติดต่อกัน 1 สัปดาห์แล้วสังเกตอาการ
  9. ช่วยแก้วัณโรค ด้วยการใช้ผลหรือใบทำเป็นยาพอก (ลูกยอ, ใบยอ)
  10. ลูกยอมีสารโปรซีโรนีน (Proxeronine) เมื่อรวมตัวกับเอนไซม์โปรซีโรเนส (Proxeronase) จะได้สารซีโรนีน (Xeronine) ที่ลำไส้ใหญ่ เมื่อดูดซึมกลับสู่เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย จะช่วยปรับสภาพเซลล์ให้มีความสมดุลและแข็งแรง และช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานได้เป็นอย่างดี
Image result for น้ำยอ

ประโยชน์ของลูกยอ




  1. ลูกยอสุก นำมาจิ้มกินกับเกลือหรือกะปิ
  2. ลูกห่ามใช้ทำส้มตำ
  3. ใบอ่อน นำมาลวกกินกับน้ำพริก ใช้ทำแกงจืด แกงอ่อม ผัดไฟแดง หรือนำมาใช้รองกระทงห่อหมก (เวลากินห่อหมกควรกินใบยอด้วย เพราะมีวิตามินสูง)
  4. นำมาใช้ทำสีย้อมผ้า รากนำมาใช้ย้อมสีให้สีแดงและสีน้ำตาลอ่อน ส่วนเปลือกจะให้สีแดง เนื้อเปลือกจะให้สีเหลืองใช้ย้อมผ้าบาติก
  5. ปัจจุบันมีการนำลูกไปแปรรูปโดยคั้นเป็น น้ําลูกยอ Noni หรือ น้ําลูกยาโนนิ
  6. รากยอมีการนำมาใช้แกะสลัก ทำรงควัตถุสีเหลือง
  7. ใบสดมีการนำมาใช้ทำเป็นอาหารสัตว์ หรือนำมาเลี้ยงตัวหนอนไหม
  8. ลูกยอสุกมีการนำมาใช้ทำเป็นอาหารหมู
  9. มีการนำมาใช้ทำเป็นยารักษาสัตว์ (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
หมายเหตุ ประโยชน์ของลูกยอบางประการข้างต้นยังอยู่ในระดับการศึกษาเริ่มต้นเท่านั้น และยังเร็วเกินไปที่จะสรุปได้ว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพมากน้อยแค่ไหน ซึ่งในทางวิทยาศาสตร์ยังคงต้องรอการพิสูจน์ต่อไป ดังนั้นโปรดใช้วิจารณญาณให้มาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

42.ใบเตย เตย เตย  หรือ  เตยหอม   ชื่อสามัญ Pandan leaves, Fragrant pandan, Pandom wangi เตย ชื่อวิทยาศาสตร์  Pandanus amarylli...