วันพุธที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2560

24.ตะลิงปิง


Image result for ตะลิงปลิง


ต้นตะลิงปลิง มีถิ่นกำเนิดในแถบชายฝั่งทะเลของบราซิล เป็นไม้ผลที่นิยมปลูกทั่วไปเพราะลำต้นมีพวงแน่นที่สวยงาม และยังเป็นพืชร่วมวงศ์กับมะเฟือง แต่จะแตกต่างกันอย่างชัดเจนตรงขนาดของผล โดยผลมะเฟืองจะมีขนาดใหญ่กว่าผลตะลิงปลิง ต้นตะลิงปลิงนั้นจัดเป็นพืชในเขตร้อนและเป็นไม้ผลยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 5-15 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นสีชมพู ผิวเรียบมีขนนุ่มปกคลุมอยู่ตามกิ่ง ลักษณะของใบตะลิงปลิงเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบสีเขียวอ่อนมีขุยนุ่มปกคลุม ใบคล้ายรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบมน ในหนึ่งก้านจะมีใบย่อยประมาณ 11-37 ใบ ขนาดใบกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาว 2-5 เซนติเมตร ส่วนลักษณะของดอกตะลิงปลิง จะออกดอกเป็นช่อหลายช่อ ตามกิ่งและลำต้น โดยในแต่ละช่อจะมีความยาวไม่เกิน 6 นิ้ว ลักษณะดอกมีกลีบ 5 กลีบ ดอกสีแดงเข้ม มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบสีเขียวอมชมพู มีเกสรกลางดอกสีขาว

สรรพคุณของตะลิงปลิง


    Image result for ตะลิงปลิง
  1. ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ผล)
  2. ช่วยแก้พิษร้อนใน แก้กระหายน้ำ (ราก)
  3. ผลใช้ผสมกับพริกไทย นำมารับประทานจะช่วยขับเหงื่อได้ (ผล)
  4. ตะลิงปลิงมีสรรพคุณช่วยฟอกโลหิต (ผล)
  5. ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน (ผล)
  6. ในประเทศฟิลิปปินส์ใช้ใบพอกรักษาคางทูม (ใบ, ราก)
  7. สมุนไพรตะลิงปลิงมีสรรพคุณเป็นยาลดไข้ (ผล)
  8. ช่วยดับพิษร้อนของไข้ (ราก)
  9. ดอกตะลิงปลิงนำมาชงเป็นชาดื่มช่วยแก้อาการไอ (ดอก, ผล)
  10. ช่วยละลายเสมหะ แก้เสมหะเหนียวข้น (ผล)
  11. ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร (ผล, ราก)
  12. ช่วยแก้อาการเลือดออกตามกระเพาะอาหารและลำไส้ (ราก)
  13. ช่วยรักษาอาการอักเสบของลำไส้ (ใช้ใบต้มดื่ม, ราก)
  14. ช่วยรักษาซิฟิลิส (Syphilis) (ใช้ใบต้มดื่ม, ราก)
  15. ช่วยบรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร (ผล, ราก)
  16. ใช้เป็นยาบำรุงแก้อาการปวดมดลูก (ผล)
  17. ช่วยบรรเทาอาการของโรคเกาต์ (ราก)
  18. ใบใช้รักษาโรครูมาตอยด์ (ใบ)
  19. ช่วยแก้ไขข้ออักเสบ (ใบ, ราก)
  20. ช่วยฝาดสมาน (ผล, ราก)
  21. ใบช่วยรักษาอาการอักเสบ (ใบ)
  22. ใบตะลิงปลิงใช้พอกแก้อาการคัน ลดอาการบวมแดงให้หายเร็วขึ้น หรือใช้ต้มอาบก็ได้ (ใบ, ราก)
  23. มีผลงานวิจัยที่ประเทศสิงคโปร์พบว่าสารสกัดน้ำของสารสกัดเอทานอลของใบตะลิงปลิง สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดของสัตว์ทดลองได้เป็นอย่างดี
  24. งานวิจัยในประเทศฟิลิปปินส์ชี้ว่าน้ำคั้นจากผลตะลิงปลิงมีฤทธิ์ในการคุมกำเนิด โดยได้ทดลองกับสุกรและหนู พบว่าร้อยละ 60 ของหนูทดลองหลังผสมพันธุ์แล้วไม่ติดลูก โดยเชื่อว่าสเตอรอยด์ไกลโคไซด์และกรดออกซาลิกในน้ำคั้นมีส่วนในการออกฤทธิ์คุมกำเนิดดังกล่าว




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

42.ใบเตย เตย เตย  หรือ  เตยหอม   ชื่อสามัญ Pandan leaves, Fragrant pandan, Pandom wangi เตย ชื่อวิทยาศาสตร์  Pandanus amarylli...