วันจันทร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2560

42.ใบเตย

Image result for ใบเตย สรรพคุณ


เตย


เตย หรือ เตยหอม ชื่อสามัญ Pandan leaves, Fragrant pandan, Pandom wangi
เตย ชื่อวิทยาศาสตร์ Pandanus amaryllifolius Roxb. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Pandanus odorus Ridl.) จัดอยู่ในวงศ์เตยทะเล (PANDANACEAE)
สมุนไพรเตย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ใบส้มม่า (ระนอง), ส้มตะเลงเครง (ตาก), ส้มปู (แม่ฮ่องสอน), ส้มพอดี ผักเก็งเค็ง (ภาคเหนือ) เป็นต้น
ต้นเตยหอม จัดเป็นไม้ยืนต้นพุ่มเล็ก ขึ้นเป็นกอ มีใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนเป็นเกลียวจนถึงยอดใบ ลักษณะของใบเป็นทางยาว สีเขียวเป็นมัน ใบค่อนข้างแข็ง มีขอบใบเรียบ เราสามารถนำใบเตยมาใช้ได้ทั้งใบสดและใบแห้ง ในใบเตยจะมีกลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหย (Fragrant screw pine) โดยกลิ่นหอมของใบเตยนั้นมากจากสารเคมีที่ชื่อว่า 2-acetyl-1-pyrroline ซึ่งเป็นกลิ่นเดียวกันกับที่ได้ใน ข้าวหอมมะลิ ขนมปังขาว และดอกชมนาด

ประโยชน์ของใบเตย


  1. ช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น และช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจ (น้ำใบเตย)
  2. การดื่มน้ำใบเตยจะช่วยดับกระหายคลายร้อนได้เป็นอย่างดี เพราะใบเตยมีกลิ่นหอมเย็น ดื่มแล้วจึงรู้สึกสดชื่น ผ่อนคลาย
  3. รสหวานเย็นของใบเตยช่วยชูกำลังได้
  4. การดื่มน้ำใบเตยช่วยแก้อาการอ่อนเพลียของร่างกายได้
  5. ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย
  6. ผู้ที่มีธาตุเจ้าเรือนเป็นธาตุไฟนั้น การรับประทานอาหารที่ปรุงจากใบเตยจะช่วยทำให้รู้สึกเย็นสบายสดชื่นได้
  7. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งตามตำรับยาไทยได้มีการนำใบเตยหอม 32 ใบ, ใบของต้นสัก 9 ใบ นำมาหั่นตากแดด แล้วนำมาชงเป็นชาดื่มอย่างน้อย 1 เดือน หรือจะใช้รากประมาณ 1 กำมือนำมาต้มกับน้ำดื่มเช้าเย็นก็ได้เหมือนกัน (ใบ, ราก)
  8. ช่วยลดความดันโลหิต (สารสกัดน้ำจากใบเตย)
  9. ช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด
  10. ช่วยบรรเทาอาการอาการและดับพิษไข้ได้
  11. ช่วยดับพิษร้อนภายในได้เป็นอย่างดี
  12. ใช้รักษาโรคหืด (ใบ)
  13. ใช้เป็นยาแก้กระษัย (ต้น, ราก)
  14. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะด้วยการใช้ต้น 1 ต้น หรือจะใช้รากครึ่งกำมือก็ได้ นำมาต้มกับน้ำดื่ม (ราก, ต้น)
  15. ใช้รักษาโรคหัดได้
  16. ใบเตยสดนำมาตำใช้พอกรักษาโรคผิวหนังได้
  17. มีการนำใบเตยมาใช้แต่งกลิ่นอาหารอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นของหวานต่าง ๆ อย่างเช่น ขนมลอดช่อง ขนมชั้น รวมไปถึงเค้กและสลัด เป็นต้น
  18. มีการนำใบเตยมาทุบพอแตก นำไปใส่ก้นลังถึงสำหรับนึ่งขนม จะทำให้ขนมที่สุกแล้วมีกลิ่นหอมน่ารับประทานมาก
  19. ใช้ใบเตยรองก้นหวดสำหรับนึ่งข้าวเหนียว เมื่อข้าวสุกแล้วจะทำให้มีกลิ่นหอมมาก
  20. สีเขียวของใบเตยเป็นสีของคลอโรฟิลล์ สามารถนำมาใช้แต่งสีขนมได้
  21. ใช้ใบเตยสดใส่ลงไปในน้ำมันที่ใช้แล้ว ตั้งไฟให้ร้อนแล้วค่อยตักใบเตยขึ้น จะทำให้น้ำมันไม่มีกลิ่นเหม็นหืน ทำให้น้ำมันที่ใช้ทอดมีกลิ่นเหมือนน้ำมันใหม่
  22. ประโยชน์ของใบเตยกับการนำมาใช้ทำเป็นทรีตเมนต์สูตรบำรุงผิวหน้า ด้วยการใช้ใบเตยล้างสะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำมาปั่นรวมกับน้ำสะอาดจนละเอียด จะได้ครีมข้นเหนียวแล้วนำมาพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที

วิธีทำน้ำใบเตยหอม


Image result for ใบเตย สรรพคุณ
  • การทำน้ำใบเตยอย่างแรกให้เตรียมวัตถุดิบดังนี้ ใบเตยหั่น 2 ถ้วย, น้ำตาลทราย 5 ช้อนโต๊ะ, น้ำ 4 ถ้วย, และน้ำแข็งก้อน
  • นำใบเตยที่หั่นไว้ครึ่งหนึ่ง แล้วใส่ลงในโถปั่นพร้อมกับน้ำเล็กน้อย แล้วปั่นจนละเอียด
  • เมื่อปั่นเสร็จให้กรองเอากากออก จะได้น้ำใบเตยสีเขียว ให้เทใส่ถ้วยแล้วพักไว้
  • ต้มน้ำในหม้อด้วยไฟระดับกลาง ๆ จนเดือด ใส่ใบเตยที่เหลืออยู่อีกครึ่งหนึ่งลงไปต้มประมาณ 5-10 นาที
  • ใส่น้ำตาลลงในหม้อต้มจนน้ำตาลละลาย แล้วให้ปิดไฟแล้วยกลง แล้วกรองเอากากออก
  • หลังจากนั้นให้ยกหม้อขึ้นตั้งไฟระดับกลางอีกครั้ง รอจนเดือดแล้วปิดไฟ ยกหม้อลงปล่อยให้เย็นเป็นอันเสร็จ น้ำใบเตย ใส่น้ำแข็งเสร็จดื่มได้เลย…


ได้รู้ถีงสรรพคุณและวิธีทำของน้ำใบเตยกันไปแล้วยังไงก็อย่าลืมนำไปทำที่บ้านกันนะคะ


ที่มา 

40.มะระขี้นก
                                               Related image  

มะระขี้นก ชื่อสามัญ Bitter gourd
มะระขี้นก ชื่อวิทยาศาสตร์ Momordica charantia L. จัดอยู่ในวงศ์แตง (CUCURBITACEAE)
ผลของมะระขี้นกจะมีรูปร่างคล้ายกระสวย ผิวเปลือกขรุขระและมีปุ่มยื่นออกมา โดยผลอ่อนจะมีสีเขียว แต่ถ้าเป็นผลแก่จะออกสีเหลืองอมแดง ปลายของผลจะแตกเป็น 3 แฉก ถามว่าทำไมถึงเรียกว่ามะระขี้นก ? คำตอบก็คือว่านกมันชอบมาจิกกินทั้งผลและเมล็ด แล้วก็ถ่ายเมล็ดไว้ตามที่ต่าง ๆ จึงเป็นที่มาของชื่อนี้

สรรพคุณของมะระขี้นก

  1. ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ จึงมีส่วนช่วยในการชะลอความแก่ชราได้
  2. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย (ผล)
  3. ช่วยต่อต้านและป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง (ผล)
  4. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในตับอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีส่วนช่วยในการลดความอ้วน
  5. ช่วยป้องกันการหนาตัวของผนังหลอดเลือดแดง
  6. ช่วยยับยั้งเชื้อเอดส์หรือ HIV (ผล)
  7. ช่วยรักษาโรคหอบหืด
  8. ช่วยบำบัดและรักษาโรคเบาหวาน สามารถลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้เป็นอย่างดี โดยจะออกฤทธิ์ทันทีหลังรับประทานประมาณ 60 นาที (ผล)
  9. ช่วยลดความดันโลหิต (ผล)
  10. ช่วยให้เจริญอาหาร เพราะมีสารที่มีรสขม ช่วยกระตุ้นน้ำย่อยให้ออกมามากยิ่งขึ้น ทำให้รับประทานอาหารได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น (ผล, ราก, ใบ)
  11. ช่วยบำรุงกำลัง บำรุงธาตุ เพิ่มพูนลมปราณ ด้วยการใช้เมล็ดแห้งของมะระขี้นกประมาณ 3 กรัม ต้มกับน้ำดื่ม (ผล, เมล็ด, ใบ)
  12. แก้ธาตุไม่ปกติ (ผล, ใบ)
  13. ใช้เป็นยาช่วยในการฟอกเลือด (ใบ)
  14. ช่วยในการนอนหลับ (ใบ)
  15. ช่วยบำรุงสายตา แก้อาการตาฟาง ช่วยในการถนอมสายตา ช่วยทำให้ดวงตาสว่างสดใสขึ้น แก้ตาบวมแดง (ผล)
  16. ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ (ใบ)
  17. ช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย (ผล, ใบ)
  18. ช่วยแก้ไข้ที่เกิดจากการถูกความร้อน ด้วยการใช้ผลสดของมะระขี้นก คว้านไส้ออก ใส่ใบชาแล้วประกบกันน้ำแล้วนำไปตากในที่ร่มให้แห้ง รับประทานครั้งละ 6-10 กรัม โดยจะต้มน้ำดื่มหรือชงดื่มเป็นชาก็ได้ (ผล, ราก, ใบ)
  19. ช่วยแก้อาการไอเรื้อรัง (ใบ)
  20. ช่วยลดเสมหะ (ราก)
  21. แก้อาการปากเปื่อยลอกเป็นขุย (ผล, ใบ)
  22. ช่วยแก้อาการปวดฟัน ด้วยการใช้รากสดของมะระขี้นกประมาณ 30 กรัมต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้เถาแห้งประมาณ 3 กรัมต้มกับน้ำดื่มก็ได้ (ราก, เถา)
  23. ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ด้วยการใช้ผลสดของมะระขี้นกต้มรับประทาน หรือจะใช้รากสดของมะระขี้นกประมาณ 30 กรัมต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้เถาแห้งประมาณ 3 กรัมต้มกับน้ำดื่มก็ได้ (ผล, ราก, ใบ, เถา)
  24. ช่วยในการย่อยอาหารได้เป็นอย่างดี
  25. ช่วยรักษาโรคกระเพาะ ด้วยการใช้ใบสดของมะระขี้นกประมาณ 30 กรัมต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้ใบแห้งบดเป็นผงรับประทานก็ได้ (ใบ)
  26. ช่วยรักษาอาการบิด ถ้าถ่ายเป็นเลือดให้ใช้รากสดประมาณ 120 กรัมต้มกับน้ำดื่ม ถ้าถ่ายเป็นเมือก ๆ ให้ใช้รากสดประมาณ 60 กรัม น้ำตาลกรวด 60 กรัมนำมาต้มกับน้ำดื่ม (ผล, ใบ, ดอก, เถา)
  27. ช่วยรักษาอาการบิดถ่ายเป็นเลือดหรือมูกเลือด ด้วยการใช้เถาสดประมาณ 1 กำมือ นำมาใช้แก้อาการบิดเลือดด้วยการต้มน้ำดื่ม หรือใช้แก้บิดมูกให้ใส่เหล้าต้มดื่ม (ราก, เถา)
  28. แก้อาการจุดเสียด แน่นท้อง (ผล, ใบ)
  29. ช่วยขับพยาธิ ด้วยการใช้ใบสดของมะระขี้นกประมาณ 120 กรัมนำมาตำคั้นเอาน้ำดื่ม หรือจะใช้เมล็ดประมาณ 3 เมล็ดรับประทาน
  30. ช่วยขับพยาธิตัวกลมก็ได้ (ผล, ใบ, ราก, เมล็ด)
  1. ช่วยบำรุงระดู (ผล)
  2. ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร (ราก)
  3. มะระขี้นกมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ (ผล, ราก, ใบ)
  4. ช่วยขับลม (ผล, ใบ)
  5. แก้โรคม้าม รักษาโรคตับ (ผล, ราก, ใบ)
  6. ช่วยบำรุงน้ำดี (ผล, ราก, ใบ)
  7. แก้พิษน้ำดีพิการ (ราก)
  8. ใช้แก้พิษ ด้วยการใช้รากสดของมะระขี้นกประมาณ 30 กรัมต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้เถาแห้งประมาณ 3 กรัมต้มกับน้ำดื่มก็ได้ (ผล, ราก, ใบ, เถา)
  9. ช่วยรักษาแผลฝีบวมอักเสบ ด้วยการใช้ใบแห้งของมะระขี้นกมาบดให้เป็นผงแล้วชงกับเหล้าดื่ม หรือจะใช้ใบสดนำมาตำให้แหลก คั้นเอาน้ำมาทาบริเวณที่เป็นฝี หรือจะใช้รากแห้งบดเป็นผงแล้วผสมน้ำพอกบริเวณฝี (ผล, ใบ, ราก, เถา)
  10. ช่วยรักษาแผลบวมเป็นหนอง ด้วยการใช้ผลสดของมะระขี้นกผิงไฟให้แห้ง บดเป็นผงแล้วนำน้ำมาทาหรือพอก หรือใช้ผลสดตำแล้วนำมาพอกก็ได้ (ผล)
  11. ใช้เป็นยาฝาดสมาน (ผล, ราก, ใบ)
  12. ใช้รักษาแผลจากสุนัขกัด ด้วยการใช้ใบสดของมะระขี้นกมาตำให้แหลก แล้วนำมาพอกบริเวณบาดแผล (ใบ)
  13. ประโยชน์ของมะระขี้นก ช่วยรักษาโรคหิด ด้วยการใช้ผลแห้งของมะระขี้นกนำมาบดให้เป็นผง แล้วนำมาโรยบริเวณที่เป็นหิด (ผลแห้ง)
  14. แก้อาการคันหรือโรคผิวหนังต่าง ๆ ด้วยการใช้ผลแห้งของมะระขี้นกนำมาบดให้เป็นผง แล้วนำมาโรยบริเวณที่คันหรือทำเป็นขี้ผึ้งใช้ทาแก้โรคผิวหนังต่าง ๆ (ผลแห้ง)
  15. ช่วยดับพิษฝีร้อน (ใบ)
  16. ช่วยรักษาโรคลมเข้าข้อ อาการเท้าบวม (ผล, ราก)
  17. ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยจากลมคั่งในข้อ (ใบ)
  18. ช่วยแก้อาการปวดตามข้อนิ้วมือนิ้วเท้า (ผล, ราก)
  19. แก้อาการฟกช้ำบวม (ผล, ใบ)
  20. ช่วยต่อต้านเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย ยีสต์ โปรโตซัว เชื้อมาลาเรีย (ผล)
  21. ช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ด้วยการใช้เมล็ดแห้งของมะระขี้นกประมาณ 3 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม (เมล็ด)
  22. มะระขี้นกสามารถนำมาใช้ทำแกงจืดมะระยัดไส้หมูสับได้เช่นเดียวกับมะระจีน แต่ต้องต้มนานหน่อยเพื่อลดความขม หรือจะนำมาทำเป็นอาหารเผ็ดก็ได้ เช่น แกงเผ็ด พะแนงมะระขี้นกยัดไส้ หรือจะนำไปผัดกับไข่ก็ได้เช่นกัน
  23. ใบมะระขี้นกนิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร (แต่ไม่นิยมกินสด ๆ เพราะมีรสขม)
  24. ประโยชน์มะระขี้นก แถวอีสานนิยมนำใบมะระขี้นกใส่ลงไปในแกงเห็ดเพื่อทำให้แกงมีรสขมนิด ๆ ช่วยเพิ่มความกลมกล่อมมากขึ้น และนำยอดมะระมาลวกเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกหรือปลาป่นก็ได้เช่นกัน
  25. ช่วยขับระดุ(ใบ)

นี่ก็คือประโยชน์ของมะระขี้นก มี 55 ข้อนะค่ะ เห็นไหมละ่ค่ะว่าผักที่หน้าตาไม่ค่อยน่ารับประทานก็มีประโยชน์เยอะแยะ เราควรปลูกไว้ที่บ้านนะค่ะ

                                                                        
ที่มา


41.ทองกวาว

Related image

ทองกวาว

ทองกวาว ชื่อสามัญ Bastard teak, Bengal kino, Kino tree, Flame of the forest
ทองกวาว ชื่อวิทยาศาสตร์ Butea monosperma (Lam.) Taub. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่วFABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)
สมุนไพรทองกวาว มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า จาน (อุบลราชธานี), จ้า (สุรินทร์), ทองต้น (ราชบุรี), ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ (ภาคกลาง), กวาว ก๋าว (ภาคเหนือ), ดอกจาน (ภาคอีสาน), จอมทอง (ภาคใต้), กวาวต้น เป็นต้น

Related imageสรรพคุณของทองกวาว


  1. รากทองกวาวมีสรรพคุณช่วยบำรุงธาตุ (ราก)
  2. รากทองกวาวใช้ต้มรักษาโรคประสาท (ราก)
  3. ดอกทองกวาวใช้ต้มดื่มช่วยถอนพิษไข้ได้ (ดอก)
  4. ช่วยแก้กระหายน้ำ (ดอก)
  5. ช่วยสมานแผลปากเปื่อย (ดอก)
  6. แก่นสามารถใช้ทาแก้อาการปวดฟันได้ (แก่น)
  7. ดอกใช้หยอดตาแก้อาการตาแดง เจ็บตา ปวดตา ระคายเคืองตา ตามัว ตาแฉะ ตาฟาง (ดอก)
  8. ช่วยแก้อาการท้องร่วง (ยาง)
  9. ทองกวาวมีสรรพคุณช่วยแก้อาการท้องขึ้น (อาการท้องอืดเพราะลมในกระเพาะอาหารเฟ้อขึ้น) (ใบ)
  10. ฝัก ใบ หรือเมล็ด นำมาต้มเอาแต่น้ำใช้เป็นยาขับพยาธิหรือพยาธิตัวกลม (ฝัก, ใบ, เมล็ด)
  11. ใช้บำบัดพยาธิภายใน (เมล็ด)
  12. ดอกใช้ต้มดื่มช่วยขับปัสสาวะ (ดอก)
  13. ใบช่วยรักษาริดสีดวง (ใบ)
  14. ดอกหรือใบใช้ต้มดื่มเป็นยาแก้ปวดได้ (ดอก, ใบ)
  15. เมล็ดนำมาบดผสมกับมะนาว นำมาทาบริเวณที่เป็นผดผื่นแดง อักเสบ คัน และแสบร้อน (เมล็ด)
  16. ใบใช้ตำพอกฝีและสิว แก้อาการปวด และช่วยถอนพิษได้ (ใบ)
  17. ดอกช่วยแก้พิษฝี (ดอก)
  18. รากทองกวาวนำมาใช้ประคบบริเวณที่เป็นตะคริวได้ (ราก)
  19. ช่วยลดกำหนัด (ดอก)
  20. สารสกัดจากเปลือกทองกวาวสามารถช่วยเพิ่มขนาดหน้าอกให้ใหญ่ขึ้นได้ แต่จะทำให้จำนวนอสุจิลดลง (เปลือก)

ประโยชน์ของทองกวาว


  1. ดอกใช้ย้อมสีผ้า โดยจะให้สีแดง
  2. ลำต้นเมื่อนำมาสับเป็นแผลจะมียางไหลออกมา สามารถนำมาใช้แทน Kimo ได้ หรือที่เรียกว่า Bengal kino
  3. เส้นใยจากเปลือกสามารถนำมาใช้ทำเป็นเชือกหลวม ๆ และกระดาษได้
  4. ใบสดนำมาใช้ห่อของ
  5. ใบทองกวาวใช้ตากมะม่วงกวน
  6. ใบใช้เป็นอาหารสำหรับช้างและวัวควายได้
  7. ในอินเดียใช้ใบนำมาปั้นเป็นถ้วยไว้ใส่อาหารและขนมแทนการใช้พลาสติก
  8. เนื้อไม้สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องเรือนและเครื่องมือทางการเกษตรได้
  9. เนื้อไม้เมื่อแห้งจะมีน้ำหนักเบาและหดตัวมาก จึงสามารถใช้ทำกระดานกรุบ่อน้ำ ทำเรือขุดหรือเรือโปงใช้ชั่วคราว หรือใช้กั้นบ่อน้ำ ร่องน้ำ และกังหันน้ำได้
  10. ทองกวาวจัดเป็นไม้มงคลนาม คนไทยสมัยก่อนเชื่อว่าหากบ้านใดปลูกต้นทองกวาวไว้ประจำบ้านจะทำให้มีเงินมีทองมาก คือสามารถมีทองได้ตามชาติหรือมีทองมากมายนั่นเอง นอกจากนี้ดอกทองกวาวยังมีความสวยงามเรืองรองเหมือนทองธรรมชาติอีกด้วย โดยตำแหน่งที่ปลูกก็คือทิศใต้ และถ้าปลูกในวันเสาร์ก็จะยิ่งเป็นมงคลขึ้นไปอีก หรือถ้าจะให้เป็นสิริมงคลมากยิ่งขึ้นผู้ปลูกควรเป็นผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือหรือเป็นผู้ที่ประกอบคุณงามความดีก็จะเป็นสิริมงคลยิ่งนัก
คำแนะนำ : เนื่องจากหลักฐานทางด้านความเป็นพิษยังมีอยู่น้อยมาก จึงควรใช้ด้วยความระมัดระวังและไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
ข้อควรระวัง : เนื่องจากเมล็ดมีสารที่ออกฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจน ซึ่งมีผลเสียต่อสตรีที่กำลังตั้งครรภ์


ที่มา

39.ถั่วลิสง



Image result for ถั่วลิสง



ถั่วลิสง

ถั่วลิสง ชื่อสามัญ Peanut, Groundnut, Earthnut, Goober, Pindar, Monkeynut
ถั่วลิสง ชื่อวิทยาศาสตร์ Arachis hypogaea L. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่วFABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)
ถั่วลิสง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ถั่วคุด (ประจวบคีรีขันธ์), ถั่วดิน (ภาคเหนือ, ภาคอีสาน), ถั่วยิสง ถั่วยี่สง ถั่วลิง (ภาคกลาง), ถั่วใต้ดิน (ภาคใต้), เหลาะฮวยแซ (จีน-แต้จิ๋ว), ถั่วยาสง (หนังสืออักขราภิธานศรับท์ของหมอปรัดเล) เป็นต้น
ถั่วลิสงมีถิ่นดั้งเดิมอยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกาใต้ ตั้งแต่ลุ่มน้ำอเมซอนไปจนถึงประเทศบราซิล โดยถั่วลิสงในสกุล Arachis สามารถแบ่งออกได้เป็น 19 ชนิด แต่สำหรับสายพันธุ์ที่ปลูกจะมีอยู่เพียงชนิดเดียวคือ Hypogaea ส่วนที่เหลือทั้งหมดจะเป็นสายพันธุ์ป่า
การปลูกถั่วลิสง มีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย แต่จะมีมากทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และในสถานการณ์ปัจจุบันการผลิตถั่วลิสงนั้นยังไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ในประเทศ จึงได้มีการนำเข้ามาจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

สรรพคุณของถั่วลิสง

  1. ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยในการเจริญเติบโต (เมล็ด)
  2. ช่วยบำรุงสมองและประสาทตา ช่วยเสริมสร้างความจำ และยังมีโคลีนที่ช่วยควบคุมความจำอีกด้วย (เมล็ด)
  3. ช่วยให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย (เมล็ด) และช่วยให้ความอบอุ่นแก่ผิวกาย (น้ำมันถั่วลิสง)
  4. ช่วยลดความดันโลหิตสูง (ใบ)โดยใช้ทั้งก้านและใบสดหรือแห้ง (แห้งใช้ประมาณ 30 กรัม ถ้าสดใช้ประมาณ 40 กรัม) นำมาต้มกับน้ำกิน (เมล็ด)
  5. ถั่วลิสงมีสารต้านเอนไซม์โปรติเอส มีฤทธิ์ต่อต้านมะเร็ง และมีจีเนสเตอินซึ่งทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงเซลล์มะเร็งตีบลง
  6. ช่วยป้องกันโรคหัวใจ เนื่องจากในถั่วลิสงมีสารที่ช่วยลดปริมาณของไขมันร้าย (LDL) จึงช่วยลดความเสี่ยงของภาวะไขมันอุดตันในเส้นเลือดและภาวะหลอดเลือดแข็งตัวซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจ หากรับประทานเป็นประจำจะช่วยลดโอกาสเสียชีวิตจากโรคหัวได้ถึงร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับประทาน (เมล็ด)
  7. กินถั่วลิสงอ้วนไหม ? ปกติแล้วการรับประทานถั่วจะช่วยลดน้ำหนักและความอ้วนครับ เพราะมีไขมันไม่อิ่มตัวซึ่งทำให้อิ่มท้องนาน ทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง และยังช่วยยับยั้งไขมันเลวที่เป็นผลเสียต่อร่างกาย ด้วยการรับประทานแบบดิบ ๆ หรือนำมาต้ม แต่ถ้าหากเป็นถั่วคั่ว ถั่วทอด ถั่วอบ อย่างนี้มันผ่านความร้อนและน้ำมัน ทำให้ไขมันไม่อิ่มตัวที่มีในถั่วลิสงมันหายไป หากรับประทานมาก ๆ ก็ทำให้อ้วนได้ แต่ทั้งนี้ถ้าหากรับประทานแต่พอประมาณก็ไม่อ้วนแน่นอนครับ และมีคำแนะนำว่าไม่ควรรับประทานเกิน 1 กำมือ ถั่วลิสงอุดมไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งเป็นตัวช่วยลดระดับความดันโลหิต ระดับไขมันในเลือด และยังช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจอีกด้วย (เมล็ด)
  8. ช่วยรักษาโรคเกล็ดเลือดต่ำ ด้วยการนำเปลือกถั่วลิสงประมาณ 10 กรัม ต้มกับน้ำดื่มทุกวัน (เมล็ด)
  9. ช่วยบำรุงไขมันในร่างกาย (เมล็ด)
  10. ช่วยลดความเสี่ยงของโรคเบาหวาน และเป็นอาหารที่ดีต่อผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและอินซูลินได้ (เมล็ด)
  11. ช่วยบำรุงปอด ช่วยหล่อลื่นปอด รักษาอาการไอแห้งเรื้อรัง ด้วยการใช้เมล็ดแห้งประมาณ 60-100 กรัมนำมาบดชงหรือต้มกิน (เมล็ด)
  12. ช่วยรักษาเยื่อตาอักเสบอย่างเฉียบพลันชนิดที่ติดต่อได้ (ข้อมูลทางคลินิก)
  13. ช่วยแก้อาการไอเรื้อรังและอาการคลื่นไส้ (เมล็ด)
  14. ช่วยรักษาอาการไอกรน ชอบนอนกรนในเด็ก ด้วยการใช้เมล็ดถั่วนำมาต้มใส่น้ำตาลกรวดแล้วรับประทาน (เมล็ด)
  15. ช่วยรักษาอาการนอนละเมออย่างผิดปกติ (ข้อมูลทางคลินิก)
  16. ช่วยระบายท้อง (น้ำมันจากเมล็ด)
  17. ช่วยบำรุงกระเพาะ และในถั่วยังอุดมไปด้วยเส้นใยอาหารที่สามารถละลายน้ำได้ จึงช่วยในขบวนการทำความสะอาดร่างกายแบบเป็นธรรมชาติ(เมล็ด)
  18. ช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหาร (เมล็ด)
  19. ช่วยรักษาโรคบิดแบคทีเรียอย่างเฉียบพลัน (ข้อมูลทางคลินิก)
  20. ช่วยรักษาพยาธิไส้เดือนที่อุดตันในลำไส้ (ข้อมูลทางคลินิก)
  21. ช่วยหล่อลื่นลำไส้ (น้ำมันจากเมล็ด
  22. ถั่วลิสงต้มกับเกลือใช้รับประทานช่วยบรรเทาอาการโรคฝีในท้องได้ (เมล็ด)
  23. ช่วยรักษาโรคตับอักเสบ เป็นดีซ่านอย่างเฉียบพลัน (ข้อมูลทางคลินิก)
  24. สรรพคุณถั่วลิสง เมล็ดช่วยบำรุงม้าม (เมล็ด)
  25. ช่วยห้ามเลือด และรักษาอาการเลือดออกง่ายในโรคฮีโมฟีเลีย (Haemophilia) (ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา)
  26. ใบสดนำมาตำใช้พอกรักษาแผลฟกช้ำ แผลหกล้มจากการกระทบกระแทก และแผลมีหนองเรื้อรัง (ใบ) โดยใช้ทั้งก้านและใบสดหรือแห้ง (แห้งใช้ประมาณ 30 กรัม ถ้าสดใช้ประมาณ 40 กรัม) นำมาต้มกับน้ำกิน หรือใช้ภายนอกนำมาตำแล้วพอก
  27. ช่วยแก้อาการปลายเท้าเป็นเหน็บชา (เมล็ด) ให้ใช้เมล็ดที่มีเยื่อประมาณ 100 กรัม ถั่วแดง 100 กรัม และเปลือกของพุทราจีน 100 กรัม แล้วนำทั้งหมดมาต้มรับประทานหลายครั้ง ๆ
  28. ช่วยบำรุงไขข้อ บำรุงเส้นเอ็น (เมล็ด)
  29. น้ำมันจากเมล็ดใช้ถูทาแก้อาการปวดตามข้อและอาการตามกล้ามเนื้อได้ (น้ำมันจากเมล็ด)
  30. ใช้ฉีดเป็นยาสลบ (ข้อมูลทางคลินิก)
  31. น้ำมันจากถั่วลิสงที่ใช้สำหรับเป็นยาฉีด มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคบางชนิดได้เล็กน้อย (ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา)
  32. ช่วยบำรุงน้ำนมสำหรับสตรีหลังคลอดบุตร (เมล็ด) ด้วยการต้มถั่วลิสง 120 กรัมกับขาหมู 1 ขา กินแล้วจะช่วยทำให้มีน้ำนมมากขึ้น
  33. ถั่วลิสงอุดมไปด้วยแมกนีเซียม ซึ่งช่วยรักษาสมดุลของฮอร์โมนเพศ ช่วยในการทำงานของเอนไซม์ต่าง ๆ ในร่างกาย และช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว
  34. เยื่อหุ้มเมล็ดของถั่วลิสงสามารถช่วยยับยั้งการสลายตัวของ Fibrin ได้ และช่วยกระตุ้นกระดูกให้ผลิตเกล็ดเลือด เพิ่มสมรรถภาพในการหดตัวของเส้นเลือดฝอย และช่วยในการห้ามเลือด
  35. จริง ๆ แล้วสรรพคุณถั่วลิสงยังมีมากกว่านี้ครับ แต่ข้อมูลเหล่านั้นยังไม่มีแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ เช่น สรรพคุณแก้อาการนอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ลดเสมหะ แก้ไส้เลื่อน ขับระดูขาวของสตรี ลดอาการบวมน้ำจากไต เป็นต้น
  36. ประโยชน์ของถั่วลิสง


    1. ถั่วลิสงเป็นพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และเป็นแหล่งของโปรตีนและพลังงาน โดยมีโปรตีนเทียบเท่ากับถั่วแดง ถั่วดำ และถั่วเขียว แต่น้อยกว่าถั่วเหลือง และยังมีกรดอะมิโนอีกหลายชนิดที่จำเป็นต่อร่างกายถั่วลิสงมีสารอาหารมากกว่า 30 ชนิด มีโปรตีนมากกว่าถั่วเปลือกแข็งชนิดอื่น ๆ ให้โซเดียมต่ำ มีไขมันไม่อิ่มตัวน้อย และยังปราศจากคอเลสเตอรอลด้วย
    2. ใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารคาวหวานต่าง ๆ เมนูถั่วลิสง เช่น แกงฮังเล น้ำพริกคั่ว ถั่วลิสงต้มกระดูกหมู ถั่วลิสงนึ่งข้าวเหนียวยัดไส้หมูสับ ไก่สามอย่าง เมี่ยงคำ ส้มตำไทย หรือสารพัดน้ำจิ้ม เช่น น้ำจิ้มหมูสะเต๊ะ น้ำจิ้มมันทอด น้ำพริกเผาทรงเครื่อง น้ำพริกถั่วปลานึ่ง หรือใช้เป็นเครื่องปรุงรสก๋วยเตี๋ยว แหนม อาหารจำพวกยำต่าง ๆ และยังนำไปผสมกับข้าวนึ่งทำเป็นข้าวต้มมัดใส่ข้าววิตู ข้าวหลามข้าวเม่า หรือทำเป็นไส้ขนมชนิดต่าง ๆ เช่น ขนมไส้เทียน ถั่วลิสงคั่ว ถั่วลิสงทอด ถั่วลิสงต้ม ถั่วลิสงป่น ถั่วลิสงบด ถั่วลิสงชุบแป้งทอด ถั่วตัด ถั่วตุ๊บตั๊บ ถั่วกระจก ถั่วลิสงเคลือบรสต่าง ๆ ถั่วลิสงทอดคลุกเนย เนยถั่วลิสงแป้งถั่วลิสง ใช้ผสมในลูกกวาด ช็อกโกแลต เป็นต้น
    3. ถั่วลิสงสามารถนำมาเพาะเป็นถั่วงอกได้ เช่นเดียวกับถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วแดง ถั่วดำ และถั่นลันเตา แต่จะไม่เป็นที่นิยมมากนัก
    4. ลำต้นและใบนำมาใช้ทำปุ๋ยหรือใช้เลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้องได้ เช่น วัว แพะ แกะ เป็นต้น ส่วนกากที่เหลือจากการสกัดน้ำมันก็สามารถนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ดี ส่วนเปลือกฝักใช้ทำเป็นปุ๋ยหมัก ใช้เพาะเห็ด ทำเชื้อเพลิง ใช้คลุมดินปลูกต้นไม้ หรือใส่ในกระถางต้นไม้เพื่อเป็นปุ๋ยและรักษาความชื้น หรือนำมาใช้ผสมกับกากน้ำตาลเพื่อใช้เป็นอาหารวัว นอกจากนี้ยังใช้เป็นส่วนผสมในวัสดุก่อสร้างโดยใช้ผสมในพลาสติก คอนกรีต แผ่นพื้น ได้เช่นเดียวกับเศษไม้ได้อีกด้วยและทำเป็นยาฆ่าแมลงได้อีกด้วย
    5. ถั่วลิสงสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย
    6. เนื่องจากถั่วลิสงมีน้ำมันประมาณ 47% จึงนิยมนำเมล็ดของถั่วของลิสงไปใช้ในอุตสาหกรรมสกัดน้ำมัน
    7. ทำเป็นน้ำมันสำหรับทอดอาหาร มีคุณสมบัติช่วยลดคอเลสเตอรอล และไม่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอนุมูลอิสระ แต่มีข้อเสียคือเป็นน้ำมันที่เหม็นหืนง่าย ใช้ทอดในความร้อนสูง ๆ ไม่ได้ แต่ใช้ผัด ทอด ต้ม ทำน้ำสลัดได้ตามปกติ
    8. นอกจากนี้ยังใช้ในอุตสาหกรรมสบู่หรือแชมพู อุตสาหกรรมปั่นด้าย ใช้ทำน้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องจักร
    9. ใช้เป็นตัวทำละลายของยาฉีดที่ใช้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อบางชนิด หรือนำมาใช้ทำปลาสเตอร์ ทำเป็นยาเตรียมพวก Liniments
    10. ประโยชน์ของเนยถั่วลิสง ที่น่าสนใจได้แก่ การนำมาทำเป็นน้ำมันหล่อลื่น แก้ปัญหาเรื่องสนิมขึ้นหรือชิ้นส่วนอะไหล่ติดขัด ใช้สอดไส้เคลือบเม็ดยาเพื่อให้สุนัขสามารถกินยาได้ง่าย ๆ (เพราะเป็นอาหารโปรดของมัน) หรือนำมาใช้แทนเนยทั่วไปได้ หรือนำมาใช้ในการล่อหนู (เนยทั่วไปทำไม่ได้ แต่เนยถั่วลิสงทำได้) หรือนำมาใช้ในการลอกฉลากกาว ด้วยการใช้เนยถั่วลิสงถูให้ทั่วฉลาก แล้วอีกด้วยผ้า ฉลากกาวที่ติดแน่นก็จะหลุดออกมาโดยง่าย หรือนำมาช่วยดับกลิ่นคาวปลาตอนทอดปลา หรือนำมาใช้ทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์ หรือการนำมาใช้ในการกำจัดคราบกากของหมากฝรั่งให้ออกอย่างง่ายดาย และยังสามารถนำมาใช้แทนเจลโกนหนวดได้เป็นอย่างดี หากครีมโกนหนวดหมดโดยกะทันหัน

โทษของถั่วลิสง


  • ถั่วลิสงเป็นอาหารกลุ่มเสี่ยงที่มักตรวจพบสารพิษซึ่งเกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่งที่เรียกว่า สารอะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) ซึ่งเป็นสารพิษร้ายแรงต่อสุขภาพของผู้บริโภคโดยตรงอย่างเฉียบพลัน (รวมไปถึงสัตว์เลี้ยงด้วย) หากได้รับในปริมาณมากอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคมะเร็งที่ตับ หัวใจ และสมองบวม อาจทำให้เกิดอาการชัก หายใจลำบาก และตับถูกทำลาย (ในประเทศไทยกำหนดให้สารชนิดนี้ไม่เกิน 20 ppb) โดยสารพิษชนิดนี้สามารถปนเปื้อนมาตั้งแต่ในช่วงการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว การตากแห้ง รวมไปถึงการเก็บรักษาก่อนถึงมือผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูฝน เชื้อราชนิดนี้จะเจริญเติบโตได้ดีมาก และการปนเปื้อนของสารก็จะเริ่มตั้งแต่ในช่วงการสร้างฝัก
  • สำหรับบางรายอาจมีอาการแพ้ถั่วลิสงได้ ถ้าหากไม่รุนแรง ก็อาจจะเป็นผื่นคันตามตัว เป็นลมพิษ ซึ่งกรณีนี้กินยาแก้แพ้ก็ช่วยได้ รวมไปถึงอาจมีอาการอาเจียน ไอหอบ หายใจไม่สะดวก และมีอาการปวดท้อง แต่ถ้าหากมีอาการแพ้ขั้นรุนแรงอาจทำให้ช็อกและเสียชีวิตได้เลย โดยคนไข้อาจมีอาการตาบวม ปากบวม แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก ความดันตก จนเกิดภาวะช็อกและหมดสติ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาในทันที ซึ่งจากการสำรวจทั้งในและต่างประเทศพบว่าใน 1,000 คน อาจมีผู้แพ้ถั่วลิสงประมาณ 2-14 คน และมีผู้เสียชีวิตจากการแพ้ถั่วลิสงมากกว่า 100 คนต่อปี ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากภูมิคุ้มกันของบุคคลแปรปรวน ทำให้ไม่สามารถรับโปรตีนจากถั่วลิสงที่เป็นอาหารทั่วไปของคนธรรมดาได้ จนเกิดการแพ้โปรตีนในถั่วลิสง แต่การแพ้ก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องแพ้โปรตีนจากแหล่งอาหารอื่นด้วย เพราะอาหารแต่ละอย่างมีโครงสร้างไม่เหมือนกัน (รศ.พญ.พรรณทิพา ฉัตรชาตรี หน่วยโรคภูมิแพ้ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
  • ผู้ที่มีอาการของโรคที่เกิดจากความชื้นเย็น หรือเมื่ออากาศเย็นและมีความชื้นจะทำให้ร่างกายเจ็บป่วยได้ง่าย ทำให้เลือดไหลเวียนในร่างกายได้ไม่ดี หรือมีอาการปวดตามกล้ามเนื้อ มีอาการปวดตึงตามข้อต่อ หากมีอาการรุนแรงหรือกำลังท้องเสีย ไม่ควรรับประทานถั่วลิสงเด็ดขาด
  • ถั่วลิสงมีสารพิวรีน (Purine) ในระดับปานกลาง ผู้ป่วยโรคเกาต์ควรรับประทานในปริมาณที่จำกัด เพราะสารดังกล่าวอาจเป็นตัวกระตุ้นทำให้อาการของข้ออักเสบกำเริบขึ้นได้

คำแนะนำในการรับประทานถั่วลิสง


  • สารอะฟลาทอกซินในถั่วลิสงจะเจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีความชื้น และสารพิษชนิดนี้ยังเป็นสารที่ทนความร้อนได้สูงถึง 260-268 องศาเซลเซียสจึงจะสลายตัว แต่สารดังกล่าวยังสามารถเสื่อมสลายไปได้ด้วยการใช้แสงอัลตร้าไวโอเลต แสงแดด และรังสีแกมมา รวมไปถึงในสภาพที่เป็นด่างและถูกทำลายได้ด้วยคลอรีน การหุงต้มด้วยวิธีธรรมดาจะไม่สามารถทำลายพิษดังกล่าวได้ ดังนั้นควรเก็บไว้ในที่แห้งและเก็บไว้ในภาชนะที่ปิดฝาได้สนิท
  • การสังเกตเชื้อราสามารถทำได้ในเบื้องต้นด้วยตาเปล่า ถ้าหากถั่วลิสงคั่วป่นที่ซื้อมามีสีเขียวอมเหลือง มีสีเขียวเข้ม หรือมีสีที่ผิดไปจากปกติ ก็ไม่ควรนำมารับประทาน และไม่ควรเก็บถั่วลิสงไว้นานกว่า 1 เดือนเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา
  • ทางที่ดีที่สุดก็คือการนำถั่วลิสงมาคั่วรับประทานเอง โดยเลือกกินเฉพาะถั่วที่ยังใหม่ ๆ หรือถั่วที่ไม่มีสีคล้ำและไม่เหลือง และควรหลีกเลี่ยงการรับประทานถั่วลิสงและถั่วลิสงป่นที่มีสีเหลืองคล้ำหรือมีสีดำ หรือมีกลิ่นเหม็นหรือกลิ่นอับ
  • การบริโภคถั่วเพื่อการลดน้ำหนักในระยะยาว ควรรับประทานแต่พอดีและจำกัดการรับประทานถั่วเปลือกแข็งเพียงวันละประมาณ 30 กรัมต่อวัน

สำหรับถั่วลิสงก็มีคุณและโทษอยู่ในตัวของมันยังไงก็เลือกรับประทานให้เหมาะสมด้วยนะคะ



ที่มา



37.ย่านาง

                                   Image result for ย่านาง รูปสวยๆ

ย่านาง

ย่านาง ชื่อสามัญ Bai-ya-nang
ย่านาง ชื่อวิทยาศาสตร์ Limacia triandra Miers (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cocculus triandrus Colebr., Menispermum triandrum Roxb., Tiliacora triandra Diels) จัดอยู่ในวงศ์บอระเพ็ด (MENISPERMACEAE )
ทางภาคกลางจะเรียกย่านางว่า “เถาย่านาง” เนื่องจากพรรณไม้ชนิดนี้เป็นเถาไม้เลื้อยเกี่ยวพันกับต้นไม้อื่น
ใบย่านาง สรรพคุณนั้นมีหลากหลาย เพราะเป็นสมุนไพรเย็น มีคลอโรฟิลล์สดจากธรรมชาติ และยังมีวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายอีกมากมาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เบต้าแคโรทีนในปริมาณค่อนข้างสูง โดยเป็นสมุนไพรที่ใครหลาย ๆ คนต่างก็คุ้นเคยกันดี เพราะนิยมนำมาเป็นเครื่องปรุงรสช่วยเพิ่มความกลมกล่อมของอาหาร เช่น แกงหน่อไม้ ซุปหน่อไม้ แกงเลียง แกงหวาน เป็นต้น

สรรพคุณใบย่านาง

  1. ใบย่านาง ในตำราสมุนไพรจัดว่าเป็นยาอายุวัฒนะ
  2. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระจำนวนมาก จึงช่วยลดและชะลอการเกิดริ้วและความแก่ชราอย่างได้ผล
  3. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคในร่างกาย
  4. ช่วยเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย
  5. ช่วยฟื้นฟูเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย
  6. ช่วยในการปรับสมดุลของร่างกาย
  7. เป็นสมุนไพรที่ช่วยในการลดความอ้วนได้อย่างเห็นผลและปลอดภัย
  8. ช่วยในการเผาผลาญไขมันและนำไปใช้เป็นพลังงาน
  9. ช่วยป้องกันและลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ
  10. เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็นเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นมะเร็งอย่างมาก
  11. ช่วยแก้อาการเจ็บปลายลิ้น
  12. ช่วยป้องกันและบำบัดรักษาโรคหัวใจ
  13. ช่วยป้องกันและรักษาโรคหอบหืด
  14. ช่วยรักษาโรคตับอักเสบ
  15. ช่วยรักษาอาการท้องเสีย เพราะช่วยฆ่าเชื้อโรคที่เป็นต้นเหตุได้
  16. ช่วยบรรเทาอาการอาการปวดท้องเฉียบพลัน
  17. ช่วยแก้อาการท้องผูก ลดอาการแสบท้อง
  18. ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบ
  19. ช่วยลดอาการหดเกร็งตามลำไส้
  20. ช่วยรักษาอาการกรดไหลย้อน
  21. ช่วยรักษาไทรอยด์เป็นพิษ
  22. ช่วยรักษาโรคนิ่วในไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ นิ่วในถุงน้ำดี
  23. ช่วยรักษาอาการปัสสาวะแสบขัด ออกร้อนในทางเดินปัสสาวะ
  24. ช่วยแก้อาการปัสสาวะมีสีเข้ม ปัสสาวะบ่อย หรือมีอาการปัสสาวะออกมาเป็นเลือด
  25. ช่วยรักษาอาการมดลูกโต อาการปวดมดลูก ตกเลือดได้
  26. ช่วยบำบัดรักษาโรคต่อมลูกหมากโต
  27. ช่วยป้องกันโรคไส้เลื่อน
  28. ช่วยในการรักษาโรคเริม งูสวัด
  29. ช่วยป้องกันการเกิดโรคริดสีดวงทวาร
  30. ช่วยรักษาอาการตกขาว
  31. ช่วยป้องกันการเกิดโรคเกาต์
  32. ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
  33. ช่วยรักษาอาการผิวหนังมีความผิดปกติคล้ายรอยไหม้
  34. น้ำย่านางเมื่อนำมาผสมกับดินสอพองหรือปูนเคี้ยวหมากผสมจนเหลว สามารถนำมาทา สิว ฝ้า ตุ่มคัน ตุ่มใส ผื่นคัน พอกฝีหนองได้อีกด้วย
  35. ช่วยป้องกันและรักษาอาการส้นเท้าแตก เจ็บส้นเท้า
  36. ช่วยรักษาอาการเล็บมือเล็บเท้าผุ โดยรักษาอาการเล็บมือเล็บเท้าขวางสั้น ผุ ฉีกง่าย หรือในเล็บมีสีน้ำตาลดำคล้ำ อาการอักเสบที่โคนเล็บ
  37. สำหรับประโยชน์ของใบย่านางด้านอื่น ๆ เช่น การนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ยกตัวอย่าง ใบย่านางแคปซูล สบู่ใบย่านาง แชมพูใบย่านาง เครื่องดื่มสมุนไพร เป็นต้น
  38. แชมพูสระผมจากใบย่านาง ช่วยให้ผมดกดำ ชะลอการเกิดผมหงอก
  39. ช่วยลดอาการนอนกรน
  40. ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้
  1. หากดื่มน้ำใบย่านางเป็นประจำ ก้อนมะเร็งจะฝ่อและเล็กลง
  2. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
  3. ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
  4. ช่วยในการบำรุงรักษาตับและไต
  5. ช่วยรักษาและบำบัดอาการอัมพฤกษ์
  6. ช่วยแก้อาการอ่อนล้า อ่อนเพลียของร่างกายที่แม้นอนพักก็ไม่หาย
  7. ช่วยรักษาอาการเกร็ง ชัก หรือเป็นตะคริวบ่อย ๆ
  8. ช่วยแก้อาการเจ็บเหมือนมีไฟช็อต หรือมีเข็มแทง หรือมีอาการร้อนเหมือนไฟ
  9. ช่วยป้องกันไม่ให้เส้นเลือดฝอยในร่างกายแตกใต้ผิวหนังได้ง่าย
  10. ช่วยรักษาอาการตกกระที่ผิวเป็นจ้ำ ๆ สีน้ำตาลตามร่างกาย
  11. ช่วยรักษาเนื้องอก
  12. ช่วยรักษาอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม คลื่นไส้ อาเจียนได้
  13. ช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ ไอจาม มีน้ำมูก และเสมหะ
  14. รากแห้งใช้ในการแก้ไข้ทุกชนิดและลดความร้อนในร่างกาย
  15. รากของย่านางสามารถแก้ไข้ได้ทุกชนิด ทั้งไข้พิษ ไข้หัด ไข้เหนือ ไข้ผิดสำแดง เป็นต้น
  16. เถาย่านางมีส่วนช่วยในการลดความร้อนและแก้พิษตานซาง
  17. มีส่วนช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมาลาเรีย
  18. ช่วยรักษาอาการร้อนแต่ไม่มีเหงื่อ
  19. ช่วยรักษาอาการของโรคเบาหวาน ช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
  20. มีส่วนช่วยอาการปวดตึง ปวดตามกล้ามเนื้อ ปวดชาบริเวณต่าง ๆ
  21. รากของย่านางช่วยแก้อาการเบื่อเมา
  22. ช่วยแก้อาการเหงือกอักเสบอย่างรุนแรงและเรื้อรัง
  23. ช่วยแก้อาการง่วงนอนหลังการรับประทานอาหาร
  24. ช่วยแก้อาการเลือดกำเดาไหล
  25. ช่วยในการบำรุงสายตาและรักษาโรคเกี่ยวกับตา เช่น ตาแดง ตาแห้ง ตามัว แสบตา ปวดตา ตาลาย เป็นต้น
  26. ช่วยรักษาอาการปากคอแห้ง ริมฝีปากแตกหรือลอกเป็นขุย
  27. ช่วยแก้ปัญหาเรื่องเสมหะเหนียวข้น ขาวขุ่น มีสีเหลืองหรือเขียว หรืออาการเสมหะพันคอ
68.ช่วยบำบัดอาการของโรคไซนัสอักเสบ

นี่ก็ป็นประโยชน์ของย่านาง มี 68 ข้อค่ะ สามารถนำไปใช้ในชีวิตของเราได้นะค่ะ

                                                              
ที่มา
38.แคดอกขาว

Related image


แค

ชื่อสามัญ Agasta, Sesban, Vegetable humming bird, Humming bird tree, Butterfly tree, Agati
ชื่อวิทยาศาสตร์ Sesbania grandiflora (L.) Pers. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่วFABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)
สมุนไพรแค มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า แคขาว แคแดง แคดอกขาว ดอกแคแดง แคดอกแดง (กรุงเทพ-เชียงใหม่), แค แคบ้าน ต้นแค แคบ้านดอกแดง ดอกแคบ้าน (ภาคกลาง), แคแกง เป็นต้น

สรรพคุณของแค


  1. ยอดแค อุดมไปด้วยวิตามินซึ่งมีส่วนช่วยต่อต้านและยับยั้งมะเร็ง เพราะมีสารที่มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการก่อกลายพันธุ์ สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งได้เป็นอย่างดี (ดอก, ยอดอ่อน)
  2. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ช่วยป้องกันและรักษาอาการหวัด (ดอก)
  3. ช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย แก้ร้อนใน กระหายน้ำ (ใบสด, ดอกโตเต็มที่)
  4. ช่วยคุมธาตุในร่างกาย (เปลือกต้น)
  5. ช่วยในเรื่องความจำ ป้องกันการเกิดเนื้องอก บรรเทาอาการไข้ ปวด โลหิตจาง ด้วยการใช้ฝักแคสด 20 กรัม นำมาเคี่ยวกับน้ำ 1 ลิตร ประมาณ 30 นาที กรองเอาฝักออก นำมาดื่มก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง ในช่วงเช้า เย็น และก่อนนอน (ในประเทศอินเดีย) (ฝัก)
  6. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา เนื่องจากมีเบตาแคโรทีนที่ร่างกายสามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ (ดอก, ยอดแค)
  7. ช่วยแก้โรคตาบอดตอนกลางคืน ด้วยการใช้ใบสด 20 กรัม เทน้ำเดือด 1 ลิตร ทิ้งไว้ 15 นาที แล้วกรองเอาใบแคออก นำมาดื่มแก้อาการ (ในประเทศอินเดีย) (ใบ)
  8. ช่วยบำรุงและเสริมสร้างกระดูกและฟัน เนื่องจากอุดมไปด้วยแคลเซียมและฟอสฟอรัส (ดอก, ยอดแค)
  9. ดอกแคมีสรรพคุณช่วยแก้ไข้ ลดอาการไข้ ถอนพิษไข้ในร่างกาย ช่วยแก้ไข้หัวลมหรือไข้เปลี่ยนอากาศ เปลี่ยนฤดู ด้วยการใช้ดอกหรือใบนำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือจะใช้ดอกที่โตเต็มที่นำมาล้างน้ำ แล้วต้มกับหมูทำหมูบะช่อ 1 ชาม แล้วรับประทานวันละ 1 มื้อ ติดต่อกัน 3-7 วัน อาการก็จะดีขึ้น (ดอก)
  10. น้ำคั้นจากรากใช้ผสมกับน้ำผึ้ง ใช้ดื่มก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง ในช่วงเช้า กลางวัน และก่อนนอน ใช้เป็นยาขับเสมหะ ลดอาการไอ แก้ร้อนใน แก้ไข้ลมหัวได้ (ราก)

  1. ช่วยบรรเทาอาการของโรคลมบ้าหมู ด้วยการใช้ใบสด 20 กรัม เทน้ำเดือด 1 ลิตร ทิ้งไว้ 15 นาที แล้วกรองเอาใบแคออก นำมาดื่มก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง ในช่วงเช้า เย็น และก่อนนอน (ในประเทศอินเดีย) (ใบ)
  2. ช่วยแก้อาการปวดและหนักศีรษะ ด้วยการใช้น้ำคั้นที่ได้จากดอกและใบแคนำมาสูดเข้าจมูกเพื่อช่วยบรรเทาอาการ (ดอก, ใบ)
  3. ยอดอ่อนใช้รับประทานแก้อาการปวดศีรษะข้างเดียว (ยอดอ่อน)
  4. ช่วยรักษาหลอดลมอักเสบ ไซนัสอักเสบ ด้วยการใช้ดอกแคสด 20 กรัม นำมาเคี่ยวกับน้ำ 1 ลิตร ประมาณ 15 นาที กรองเอาแต่ดอกออก แล้วนำมาดื่มก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง ในช่วงเช้า เย็น และช่วงก่อนนอน (ในประเทศอินเดีย) (ดอก)
  5. ช่วยแก้อาการปวดฟัน รำมะนาด ด้วยการใช้เปลือกแคนำมาต้มผสมเกลือให้เค็มจัดแล้วนำมาอม (เปลือกแค)
  6. ช่วยรักษาปากเป็นแผล แก้อาการร้อนในจนปากลิ้นเปื่อย ด้วยการใช้เปลือกแคชั้นในสุดที่มีสีน้ำตาลอ่อน ๆ นำมาเคี้ยว 3-5 นาทีแล้วคายทิ้ง ทำวันละ 2 ครั้ง ไม่เกิน 3 วันก็จะหายจากอาการ (เปลือกแค)
  7. ชาวอินเดียใช้น้ำที่คั้นจากดอกหรือใบ นำมาสูดเข้าจมูกรักษาโรคริดสีดวงในจมูก ทำให้มีน้ำมูกออกมา (ดอก, ใบ)
  8. เปลือกของต้นแคน้ำมาคั้นเป็นน้ำรับประทานช่วยแก้อาการท้องร่วง แก้ท้องเดิน แก้โรคบิดมีตัว แก้มูกเลือดได้ หรือจะนำมาใช้ต้มหรือฝนรับประทานแก้อาการได้ หรือจะใช้เปลือกต้นปิ้งไฟ 1 ส่วน นำมาต้มกับน้ำหรือน้ำปูนใส 10 ส่วน แล้วนำมารับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนแกงก็ได้เช่นกัน (เปลือกต้น)
  9. ช่วยแก้ตานขโมย ด้วยการใช้แคทั้งห้าส่วนอย่างละ 1 กำมือ แล้วใส่น้ำพอท่วมยา หลังจากนั้นต้มให้เดือดประมาณ 5-10 นาที แล้วนำมากินครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 ครั้ง ประมาณ 15 วัน (ทั้งห้าส่วน)
  10. ช่วยทำให้เจริญอาหาร เนื่องจากรสขมของดอกแคช่วยกวาดล้างเมือกในช่องปาก ทำให้ลิ้นเสียความรู้สึก แต่ทำให้อยากอาหาร ทำให้รับประทานอาหารได้มากขึ้น (ดอก)
  11. สรรพคุณดอกแค ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันอาการท้องผูก (ดอก, ใบ)
  12. ใบแค ใช้รับประทานช่วยทำให้ระบาย หรือจะใช้ฝักแคสด 20 กรัม นำมาเคี่ยวกับน้ำ 1 ลิตร ประมาณ 30 นาที กรองเอาฝักออก นำมาดื่มก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง ในช่วงเช้า เย็น และก่อนนอน (ใบ, ฝัก)
  13. ช่วยขับพยาธิ ด้วยการใช้ใบสด 20 กรัม เทน้ำเดือด 1 ลิตร ทิ้งไว้ 15 นาที แล้วกรองเอาใบแคออก นำมาดื่มก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง ในช่วงเช้า เย็น และก่อนนอน (ในประเทศอินเดีย) (ใบ)
  14. ช่วยบำรุงและรักษาตับ ด้วยการใช้ดอกแคสด 20 กรัม นำมาเคี่ยวกับน้ำ 1 ลิตรประมาณ 15 นาที กรองเอาแต่ดอกออก แล้วนำมาดื่มก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง ในช่วงเช้า เย็น และก่อนนอน (ในประเทศอินเดีย) (ดอก, ใบ)
  15. ช่วยแก้อาการอักเสบ ด้วยการใช้รากสด 20 กรัม นำมาเคี่ยวในน้ำ 1 ลิตรประมาณครึ่งชั่วโมง แล้วกรองเอารากออก ใช้ดื่มก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง ในช่วงเช้า เย็น และก่อนนอน (ในประเทศอินเดีย) (ราก)
  16. ช่วยบรรเทาอาการของโรคเกาต์ ด้วยการใช้ใบสด 20 กรัม เทน้ำเดือด 1 ลิตร ทิ้งไว้ 15 นาที แล้วกรองเอาใบแคออก นำมาดื่มก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง ในช่วงเช้า เย็น และก่อนนอน (ในประเทศอินเดีย) (ใบ)
  17. เปลือกต้นนำมาใช้ภายนอก สามารถใช้ทำเป็นยาล้างแผล ชะล้างบาดแผลได้ ด้วยการใช้เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำเดือด 15 นาที ใส่เกลือเล็กน้อย แล้วนำมาใช้ล้างแผลวันละ 3 ครั้ง (เปลือกต้น)
  18. ช่วยรักษาแผลมีหนอง ด้วยการใช้เปลือกต้นแคแก่ ๆ นำมาตากแห้งแล้วฝนกับน้ำสะอาดหรือน้ำปูนใส ใช้ทาแผลเช้าเย็น (ก่อนทาควรใช้น้ำต้มจากเปลือกแคล้างแผลก่อน) จะช่วยทำให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้น (เปลือกต้น)
  19. ใบสดนำมาตำละเอียดใช้พอกแก้อาการฟกช้ำได้ (ใบ)
  20. ในอินเดียมีการใช้ใบอ่อนเป็นอาหารเสริมบีตา-แคโรทีนอยด์ในผู้ที่ขาดแคโรทีนอยด์ พบว่าหลังจากได้รับอาหารเสริมใบอ่อนแค (Agathi) จะมีปริมาณแคโรทีนในซีรั่มเพิ่มขึ้นในวันที่ 7
  21. ในหนูทดลองที่รับยาและสารสกัดจากใบแคจะมีปริมาณของระดับคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ฟอสโฟไลพิด และกรดไจมันอิสระต่ำกว่าหนูทดลองในกลุ่มที่ได้รับยาเพียงอย่างเดียว (ใบ)
  22. สารสกัดจากใบแค ช่วยทำให้ปริมาณของสารต้านอนุมูลอิสระในกระแสเลือดของหนูทดลองกลับสู่สภาวะปกติ ผลงานวิจัยนี้จึงเป็นข้อสนับสนุนข้อมูลแพทย์ทางเลือกที่มีการใช้ใบแคเพื่อบำรุงตับและแก้ความผิดปกติของตับได้เป็นอย่างดี (ใบ)
  23. สารสกัดจากเอทานอลของใบแคมีฤทธิ์ช่วยป้องกันตับถูกทำลายในหนูทดลองที่ได้รับยาเกินขนาด (ใบ)
  24. ช่วยแก้อาการหัวใจสั่น (ใบ), เปลือกในของต้นใช้อมแก้ลิ้นเป็นเม็ดคันหรือแสบ (เปลือกใน)
  25. ดอกช่วยชะลอความแก่ชรา แก้อาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ป้องกันโรคเบาหวาน ทำให้ร่างกายไม่อ่อนแอหรือเหนื่อยง่าย ป้องกันผมร่วง บำรุงผิวพรรณ ป้องกันผิวแห้งแตกหรือริ้วรอย ลดปัญหาเล็บมือ เล็บเท้าเปราะแตกง่าย ลดอาการซึมเศร้า อาการหงุดหงิด นอนไม่หลับ รักษาผิวหนังเป็นผื่น บรรเทาอาการของสิวอักเสบ

ประโยชน์ของแค


  1. ประโยชน์ของต้นแค นิยมปลูกไว้เป็นรั้วบ้าน ปลูกตามคันนา ริมถนนข้างทาง และปลูกไว้ในบริเวณบ้าน
  2. แคเป็นพืชที่มีจุลินทรีย์ที่ปมราก เมื่อจับกับก๊าซไนโตรเจนในอากาศจะผลิตเป็นปุ๋ยที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ต้นแคจึงเป็นพืชที่ช่วยปรับปรุงดินไปได้ในตัวอีกด้วย
  3. ใบใช้เป็นอาหารสัตว์ เลี้ยงโคกระบือได้ดี และเป็นที่ชื่นชอบของโคกระบือ
  4. ไม้ใช้ทำเป็นฟืนหรือเชื้อเพลิงได้
  5. ลำต้นนิยมนำมาใช้ในการเพาะเลี้ยงเห็ดหูหนูได้ดี
  6. ประโยชน์ของดอกแค ฝักอ่อน ยอดอ่อน และใบอ่อน สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย เมนูดอกแค เช่น แกงแคแกงส้มดอกแค, ดอกแคสอดไส้, ดอกแคห่อกุ้งทอด, แกงเหลืองปลากะพง, แกงจืดดอกแค, ดอกแคชุบแป้งทอด, ดอกแคผัดหมู, ดอกแคผัดกุ้ง, ดอกแคผัดเต้าเจี้ยว, ดอกแคผัดกะเพรา, ยำดอกแค, ส่วนใบอ่อน ยอดอ่อน และฝักอ่อนนำมาลวกจิ้มกินกับน้ำพริกก็ได้ เป็นต้น
  7. สำหรับชาวอีสานนิยมนำดอกแคและยอดอ่อนมานึ่งหรือย่าง รับประทานร่วมกับลาบ ก้อย แจ่ว และดอกยังนำมาปรุงเป็นอาหารประเภทอ่อมอีกด้วย
  8. บ้านเรานิยมกินดอกและยอดอ่อน แต่สำหรับประเทศอื่น ๆ บางประเทศจะนิยมกินดอกแคสดหรือนำมานึ่งเป็นสลัดผัก ส่วนฝักจะใช้รับประทานเหมือนกับถั่วฝักยาว

คำแนะนำในการรับประทานดอกแค

  • การนำดอกแคมาใช้ทำเป็นอาหาร ต้องเด็ดเอาเกสรสีเหลืองของดอกแคออกก่อน จะช่วยลดความขมหรือทำให้มีรสขมได้ แต่ถ้าไม่กังวลเรื่องความขมก็ไม่ต้องเด็ดออกก็ได้
  • การเลือกซื้อยอดอ่อนและใบอ่อนของแค ควรเลือกเป็นใบสด ไม่ร่วง ส่วนดอกให้เลือกดอกตูมที่กำลังจะบาน ซึ่งยอดอ่อนและใบอ่อนจะหาซื้อได้ทั่วไปในตลาด แต่สำหรับฝักอ่อนค่อนข้างจะหาซื้อยาก ต้องปลูกต้นแคไว้เองจึงจะได้รับประทาน
  • ยอดอ่อนและใบอ่อนของแคนั้น จะมีในช่วงฤดูฝน ส่วนดอกแคจะมีในช่วงต้นฤดูหนาว
  • ดอกแคมีรสเฝื่อน ไม่นิยมรับประทานสด ๆ วิธีที่ดีที่สุดก็คือ การไปลวกโดยใช้เวลาอันสั้นที่สุด
  • การรับประทานดอกแคในปริมาณมากเกินไปอาจทำให้อาเจียนได้




42.ใบเตย เตย เตย  หรือ  เตยหอม   ชื่อสามัญ Pandan leaves, Fragrant pandan, Pandom wangi เตย ชื่อวิทยาศาสตร์  Pandanus amarylli...