วันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

7.กระเทียม
Image result for กระเทียม


  ประโยชน์ทางยา…ของกระเทียม

    1.การใช้รักษาอาการท้องอืด แน่นจุกเสียด

  • นำกระเทียม 5-7 กลีบ บดให้ละเอียด เติมน้ำส้มสายชู 2 ช้อนโต๊ะ เกลือและน้ำตาลนิดหน่อย ผสมให้เข้ากัน กรองเอาน้ำดื่ม
  • นำกระเทียมปอกเปลือก นำเฉพาะเนื้อใน 5 กลีบ ซอยให้ละเอียด กินกับน้ำหลังอาหารทุกมื้อ แก้ปวดท้องอาหารไม่ย่อย เพราะมีเอนไซม์ที่ช่วยในการย่อยอาหาร
   2.การใช้รักษากลากเกลื้อน
  • นำกระเทียมมาขูดให้เป็นชิ้นเล็กๆ หรือบดให้แหลก พอกที่ผิวหนัง แล้วปิดด้วยผ้าพันแผลไว้นานอย่างน้อย 20 นาที จึงแก้ออก แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด ทำซ้ำเช้าเย็นเป็นประจำทุกวัน
  • นำใบมีดมาขูดผิวหนังส่วนที่เป็นกลากเกลื้อนให้พอเลือดซึม แล้วใช้กระเทียมทาลงไป ทำเช่นนี้ทุกวัน 10 วันก็จะหาย สารอัลลิซินเป็นสารออกฤทธิ์ทำลายเชื้อกลากเกลื้อน สารนี้สลายตัวง่ายเมื่อถูกความร้อน ความชื้น การใช้กระเทียมเก่าที่เก็บไว้นานจะมีสารอัลลิซินเหลืออยู่น้อย
   3.การใช้ลดความดันโลหิต
  • กินกระเทียมสดครั้งละ 5 กรัม วันละ 3 เวลาพร้อมหรือหลังอาหาร ช่วยลดไขมันในเลือดและส่งผลช่วยลดความดันโลหิต จากการทดลองในคนโดยให้กินกระเทียมในปริมาณดังกล่าว นาน 1 เดือน พบว่าระดับคลอเลสเตอรอลลดลง
  • หากไม่ชอบกินสดๆ ให้กินกระเทียมผงอัดเม็ดหรือน้ำมันกระเทียมในแคปซูลครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 3 ครั้งหลังอาหาร
การใช้ลดน้ำตาลในเลือดกินกระเทียมสดครั้งละ 5 กรัม วันละ 3 เวลาพร้อมหรือหลังอาหาร โดยมีสารอัลลิซิน (allicin) ที่ไปกระตุ้นการหลั่งอินซูลินออกมามากขึ้น ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดลดลง
  • หากไม่ชอบกระเทียมสด ให้กินกระเทียมผงอัดเม็ดหรือน้ำมันกระเทียมในแคปซูล ครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 3 ครั้งหลังอาหาร กระเทียมผงอัดเม็ดหรือน้ำมันกระเทียมในแคปซูลจะไปแตกตัวในลำไส้ ทำให้รอดพ้นจากการถูกทำลายโดยเอนไซม์ในกระเพาะอาหาร
  • สารเคมี: หัวกระเทียมพบอัลลิอิน อัลลิซิน อัลลิเนส สคอร์ดินีนเอ สคอร์ดินีนบี
    ข้อควรระวัง: กระเทียมที่เก็บไว้นานทำให้สารสำคัญคืออัลลิซินและเอนไซม์อัลลิเนสสลายไป ทำให้คุณสมบัติการฆ่าเชื้อกลาก ลดโคเลสเตอรอลในเลือด ลดน้ำตาลในเลือดลดลง

      คนที่เป็นโรคกระเพาะ หากกินกระเทียมสดตอนท้องว่าง อาจเกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร เพราะสารอัลลิซินจะไปกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อยอาหาร ออกมาทำให้มีสภาพเป็นกรดมากขึ้น และหากกินแล้วเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ให้กินกระเทียมน้อยลง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

42.ใบเตย เตย เตย  หรือ  เตยหอม   ชื่อสามัญ Pandan leaves, Fragrant pandan, Pandom wangi เตย ชื่อวิทยาศาสตร์  Pandanus amarylli...