วันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

9.เทียนบ้าน

Image result for เทียนบ้าน

เทียนบ้าน (Garden Balsam) 
เทียนบ้าน ชื่อวิทยาศาสตร์ Impatiens balsamina L.
สมุนไพรเทียนบ้าน มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เทียนดอก เทียนสวน เทียนไทย เทียนขาว เทียน (ภาคกลาง), จึงกะฮวย จี๋กะเช่า เซียวก่ออั้ง ห่งเซียง (จีน), จือเจี่ยฮวา จี๋ซิ่งจื่อ เฟิ่งเซียนฮวา ฝู่เฟิ่งเซียนฮวาจื่อ เป็นต้นเป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น เทียนไทย, เทียนสวน, เทียนดอก เป็นต้น ซึ่งต้นเทียนบ้านนั้นจัดอยู่ในพืชกลุ่มถอนพิษ เป็นไม้ที่มีแหล่งกำเนิดอยู่ในประเทศแอฟริกาและอินเดีย สามารขยายพันธุ์ได้โดยการนำเมล็ดหยอดลงไปในดินแล้วกลบดินไว้ให้เรียบ จากนั้นต้องหมั่นรดน้ำทุกๆ วันให้ชุ่ม และเมื่อมีต้นเริ่มงอกยาวออกมาประมาณหนึ่ง ก็ให้ทำการถอนต้นที่ไม่แข็งแรงออกไป โดยต่อ 1 หลุม ให้เหลือเพียง 1 – 2 ต้นเท่านั้น ซึ่งสามารถเพาะพันธุ์ได้ง่ายและเจริญเติบโตได้เร็ว โดยเฉพาะในดินร่วนซุยและแสงแดดรำไร

ประโยชน์และสรรพคุณของเทียนบ้าน
ใบ – ช่วยแก้อาการบวม แก้ปวดตามข้อต่างๆ รวมทั้งช่วยในการสลายลม ช่วยฟอกโลหิต ตลอดจนแก้อาการเจ็บปวดเนื่องจากการกระทบกระแทก แก้ฝีประคำร้อย แก้โรคงูสลัด แก้บิดมูลเลือด และแก้แผลที่มีหนองเรื้อรัง ให้รสเฝื่อน
ดอก – เป็นยาเย็น ใช้บำรุงร่างกาย ช่วยในการฟอกโลหิต ช่วยสลายลม รวมทั้งลดอาการบวมต่างๆ ช่วยแก้อาการปวดเอว แก้อาการปวดตามข้อต่างๆ ตลอดจนแก้ปวดท้องก่อนมีระดูหรือประจำเดือน และใช้ในการทาแผลที่เกิดจากน้ำร้อนลวก หรือแผลพุพอง ให้รสเฝื่อนเย็น
เมล็ด – ช่วยขับระดูหรือประจำเดือน ช่วยละลายกระดูก แก้ก้างติดคอ รวมทั้งช่วยกระจายเลือด ขับเสมหะที่ข้นๆ ตลอดจนขับลูกที่ตายในท้อง แก้พิษจากงู แก้แผลที่ติดเชื้ออักเสบแบบเรื้อรัง และช่วยรักษาแผลจากไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แก้ตับแข็ง และแก้อาการบวม ให้รสขม
ลำต้น – ช่วยทำให้เส้นเอ็นคลายตัว ช่วยขับลม ทำให้เลือดเดินสะดวก รวมทั้งช่วยแก้อาการปวด แก้แผลเน่าเปื่อยหรือบวม เป็นพิษ แก้อาการเหน็บชา แก้โรคปวดตามข้อต่างๆ ช่วยทำให้อาเจียน และช่วยขับปัสสาวะ ให้รสเฝื่อน
ราก – ช่วยแก้อาการตกเลือด และแก้อาการตกขาวรวมทั้งช่วยฟอกเลือด ลดอาการบวม และแก้อาการบวมช้ำ แก้ปวดกระดูก ให้รสเฝื่อนเมา
ดอกและใบ – นำมาใช้สำหรับพอกกันเล็บถอด ให้รสเฝื่อนเย็น
Image result for เทียนบ้าน
    สำหรับต้นเทียนบ้านนั้นนับเป็นพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์และสรพคุณเป็นอย่างมากเลยทีเดียว แต่ควรใช้ด้วยความระมัดระวังโดยเฉพาะในผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์อยู่นั้นห้ามรับประทานอย่างเด็ดขาด รวมทั้งตัวเมล็ดนั้นมีฤทธิ์สามารถละลายฟันและกระดูกของเราได้ และหากรับประทานติดต่อกันในปริมาณมากๆ อาจส่งผลเสียต่อกระเพาะและม้ามของเราได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

42.ใบเตย เตย เตย  หรือ  เตยหอม   ชื่อสามัญ Pandan leaves, Fragrant pandan, Pandom wangi เตย ชื่อวิทยาศาสตร์  Pandanus amarylli...