วันพุธที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2560

20.กานพลู


Image result for กานพลู

   กานพลู หรือ Clove หรือคนภาคเหนือเรียก จันจี่ วงศ์ MYRTACEAE มีชื่อวิทยาศาสตร์Eugenia caryophyllus  Bullock&Harrison. เป็นพืชที่ชอบอากาศชื้น เป็นพืชพื้นเมืองของฟิลิปินส์ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ส่วนที่ใช้เป็นยาคือดอกตูมที่แก่จัด หมอยาจะเก็บดอกช่วงนี้มาตากแห้งเก็บไว้ใช้ ดอกกานพลูที่จำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไปมักเป็นดอกที่มีการกลั่นเอาน้ำมันหอมระเหยออกไปก่อนแล้ว 
ต้นกานพลู เป็นไม้ยืนต้นและเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่น่าใจ มีสรรพคุณทางยาหลากหลาย มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เป็นสมุนไพรไทยที่มีรสเผ็ด โดยมีการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวมากที่สุดในประเทศอินโดนีเซีย อินเดีย ปากีสถาน และศรีลังกา เป็นต้น

ประโยชน์ของกานพลู


  1. กานพลูมีสารประกอบอย่างฟีโนลิกในปริมาณมาก ซึ่งมีสรรพคุณช่วยเรื่องการต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย
  2. ใบกานพลูมีส่วนช่วยเผาผลาญแคลอรี ช่วยลดความอยากน้ำตาล และช่วยลดและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  3. กานพลูแก้ปวดฟัน ด้วยการใช้น้ำมันที่กลั่นมาจากดอกตูมของดอกกานพลูประมาณ 5 หยด แล้วใช้สำลีพันปลายไม้จุ่มน้ำมันนำมาอุดในรูที่ปวดฟันจะช่วยบรรเทาอาการปวดฟันได้ หรือจะนำดอกมาเคี้ยวแล้วอมไว้ตรงบริเวณที่มีอาการปวดฟันก็ได้ หรือจะนำดอกกานพลูมาตำให้แหลก ผสมกับเหล้าขาวเล็กน้อยพอให้แฉะ แล้วนำมาอุดฟันบริเวณที่ปวด (น้ำมันสกัด) หรือจะใช้ดอกตูมที่แห้งแล้วนำมาแช่เหล้าเอาสำลีชุบอุดรูฟันก็ได้เช่นกัน
  4. ช่วยรักษาโรครำมะนาด (โรคปริทันต์) หรือโรคที่มีการอักเสบของอวัยวะรอบ ๆ ฟันนั่นเอง ด้วยการนำดอกมาเคี้ยวแล้วอมไว้ตรงบริเวณที่มีอาการของโรค (ดอกตูม)
  5. ช่วยระงับกลิ่นปาก ดับกลิ่นเหล้าได้เป็นอย่างดี ด้วยการใช้ดอกตูมของกานพลูประมาณ 3 ดอก อมไว้ในปากจะช่วยลดกลิ่นปากลงไปได้บ้าง และยังเป็นส่วนผสมในน้ำยาบ้วนปากหลายชนิด (ดอกตูม)
  6. ช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน หน้ามืดตาลาย (ดอก)
  7. ช่วยแก้อาการสะอึก แก้ซางต่าง ๆ (ดอก)
  8. ดอกตูมของกานพลูใช้รับประทานเพื่อขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ (ดอกตูม)
  9. ช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ (ดอกตูม)
  10. กานพลูมีสรรพคุณช่วยลดอาการจุกเสียดแน่นท้อง ที่เกิดจากการย่อยอาหารไม่สมบูรณ์ (ดอกตูม)
    Related image
  1. ช่วยกระตุ้นการหลั่งเมือกและช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร (ดอกตูม)
  2. ช่วยแก้อาการท้องเสียในเด็ก (ดอกตูม)
  3. ช่วยแก้อาการเหน็บชา (ดอกตูม)
  4. ช่วยรักษาโรคหืดหอบ (ดอกตูม)
  5. ช่วยแก้อาการไอ ด้วยการอมดอกกานพลู ระหว่างอมอาจจะรู้สึกชาปากบ้างเล็กน้อย (ดอกตูม)
  6. ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน (ดอกตูม)
  7. ช่วยขับเสมหะ แก้เสมหะเหนียวข้น (ดอกตูม)
  8. ช่วยขับน้ำดี (ดอกตูม)
  9. มีส่วนช่วยในการดูดซึมของธาตุเหล็กให้ดียิ่งขึ้น
  10. ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย แก้เลือดเสีย (ดอกตูม)
  11. ช่วยขับน้ำคาวปลา (ดอกตูม)
  12. ช่วยแก้ลม แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ (ดอกตูม)
  13. ช่วยขับผายลม จับลมในลำไส้ (ดอกตูม)
  14. เปลือกของต้นการพลู ช่วยแก้อาการปวดท้อง แก้ลม และช่วยคุมธาตุ
  15. ผลของกานพลูนำมาใช้เป็นเครื่องเทศ ซึ่งเป็นตัวช่วยให้มีกลิ่นหอม
  16. น้ำมันหอมระเหยของกานพลู (Essential oil) ช่วยฆ่าเชื้อโรคได้ (น้ำมันหอมระเหย)
  17. น้ำมันหอมระเหยของกานพลู ช่วยทำให้ประสาทสงบ
  18. ใช้เป็นยาระงับอาการชักกระตุก ด้วยน้ำมันหอมระเหยจากกานพลู (น้ำมันหอมระเหย)
  19. ช่วยทำให้ผิวหนังชา ด้วยการใช้น้ำมันหอมระเหยจากดอกกานพลู เพราะมีสาร Eugenol ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ (น้ำมันหอมระเหย)
  20. ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นเชื้อบิดชนิดไม่มีตัว เชื้อหนอง เชื้อโรคไทฟอยด์ เป็นต้น (ดอกตูม)
  21. น้ำมันหอมระเหยจากกานพลูมีส่วนช่วยฆ่าเชื้อจากบาดแผล แมลงสัตว์กัดต่อยได้
  22. งานวิจัยพบว่าน้ำมันกานพลูสามารถช่วยละลายลิ่มเลือดและช่วยลดการจับตัวเป็นก้อนได้
  23. กานพลูเป็นหนึ่งในสมุนไพรที่นำมาใช้ในการย้อมสีผม ซึ่งจะให้สีผมที่ใกล้เคียงกับสีดำ
  24. น้ำมันกานพลู (Clove oil) นำมาใช้ในการแต่งกลิ่นอาหาร แต่งกลิ่นสบู่ และยาสีฟัน
  25. น้ำมันกานพลูมีฤทธิ์ในการช่วยไล่ยุงได้
  26. ใช้เป็นส่วนผสมของสมุนไพรในตำรับยาต่าง ๆ หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น พิกัดตรีพิษจักร พิกัดตรีคันธวาต ยาหอมเทพจิต ยาหอมนวโกฐ ยาธาตุบรรจบ ยาประสะกานพลู เป็นต้น
  27. กานพลูเป็นหนึ่งในสมุนไพรที่แนะนำให้รับประทานของหญิงให้นมบุตรเพราะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต และทำให้มีน้ำนมเพิ่มมากขึ้น แต่สำหรับหญิงที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันหอมระเหยกานพลู เว้นแต่จะได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ
  28. ผู้ผลิตบางรายได้นำกานพลูมาทำเป็นบุหรี่ หรือที่เรียกกันว่าบุหรี่กานพลู โดยมีการพัฒนาสูตรใหม่ ๆเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของรสชาติ ที่มีทั้งรสช็อกโกแลต รสบ๊วย รสวานิลลา รสผลไม้ และอื่น ๆ มากมาย แต่เหล่านี้ก็ยังถือเป็นอันตรายต่อสุขภาพอยู่ดี จึงไม่ขอแนะนำ และบุหรี่กานพลูก็มีพิษเทียบเท่ากับบุหรี่ทั่วไปอีกด้วย
  29. น้ำมันสกัดจากการพลูสามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของ Lactococcus garvieae ในอาหารเลี้ยงเชื้อได้ เมื่อนำอาหารปลาที่ผสมกับน้ำมันกานพลูมาเลี้ยงปลานิล จะทำให้ปริมาณการตายเนื่องจากการติดเชื้อ L. garvieae ของปลานิลลดลง

    จะเห็นได้ว่า ก้านพลูมีประโยชน์มากมายเลยทีเดียว แต่ก็ควรรับประทานให้พอเหมาะกับความต้องการนะคะ ไม่เช่นนั้นก็อาจเกิดอันตราต่อสูขภาพเราได้เช่นกันค่ะ 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

42.ใบเตย เตย เตย  หรือ  เตยหอม   ชื่อสามัญ Pandan leaves, Fragrant pandan, Pandom wangi เตย ชื่อวิทยาศาสตร์  Pandanus amarylli...