วันพุธที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2560

22.เสาวรส


Related image


   เสาวรส หรือ กะทกรก มีลักษณะคล้ายกันกับต้นตำลึงเพราะมีการเจริญเติบโตแบบไม้เถาเลื้อย มีหนามขนาดเล็กขึ้นตามเถา มีขนขึ้นอยู่เต็มไปหมดทุกส่วน ใบเป็นแบบใบเดี่ยว คล้ายรูปหัวใจ ใบมนเป็น 3 แฉก มีปลายแหลม ดอกของกะทกรกมีสีขาว ส่วนบริเวณด้านในที่เป็นเกสรจะมีสีม่วง ดอกจะออกในช่วงเดือนสิงหาคมจนถึงเดือนกันยายน ผลของกะทกรกจะมีลักษณะกลมขนาดเท่านิ้วหัวแม่มือ ผลถูกหุ้มด้วยเยื่อบางๆ ผลอ่อนจะมีสีเขียว เมื่อเป็นผลแก่จะมีสีเหลืองส้ม มีเมล็ดอยู่ข้างใน มีเนื้อหุ้มเมล็ดอยู่ รสชาติออกหวานเฝื่อนๆ


สรรพคุณของเสาวรส


    Image result for กะทกรก
  1. เปลือกใช้เป็นยาชูกำลัง (เปลือก)
  2. เนื้อไม้ใช้เป็นยาควบคุมธาตุในร่างกาย (เนื้อไม้) ส่วนเถาใช้เป็นยาธาตุ (เถา)
  3. รากสดหรือรากตากแห้งใช้ชงกับน้ำดื่มเป็นชา จะช่วยทำให้สดชื่น (ราก)
  4. ผลดิบมีรสเมาเบื่อ ส่วนผลสุกมีรสหวานเย็น ช่วยบำรุงปอด (ผล)
  5. ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงหัวใจ (ทั้งต้น)
  6. ช่วยถอนพิษเบื่อเมาทุกชนิด (เนื้อไม้)
  7. ช่วยแก้ความดันโลหิตสูง (ราก)
  8. แพทย์ชาวเวียดนามใช้ใบเป็นสงบระงับ ระงับความเครียดและความวิตกกังวล ด้วยการใช้ใบแห้งประมาณ 10-15 กรัม (ต่อวัน) นำมาต้มกับน้ำกิน (ใบ)
  9. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ด้วยการใช้ใบนำมาตำใช้พอกหรือประคบที่ศีรษะ (ใบ)
  10. รากใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้จับสั่น (ราก)
  11. ใบใช้ตำพอกศีรษะ ช่วยแก้อาการหวัด คัดจมูก (ใบ)ช่วยแก้อาการไอ (ใบ, ดอก, ต้น, ทั้งต้น)
  12. ช่วยขับเสมหะ (ใบ, ต้น, ทั้งต้น)
  13. เมล็ดใช้แก้เด็กที่มีอาการท้องอืดเฟ้อ ช่วยทำให้ผายลม ด้วยการนำเมล็ดมาตำให้ละเอียด ใช้ผสมกับน้ำส้มและรมควันให้อุ่น แล้วเอาไปทาท้องเด็ก (เมล็ด)
  14. ใบนำมาตำให้ละเอียด แล้วคั้นเอาแต่น้ำดื่มเป็นยาเบื่อและยาขับพยาธิ (ใบ)
  15. ดอก ใบ และทั้งต้นมีรสเบื่อเมา ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (ใบ, ดอก, ต้น, ทั้งต้น)
  16. เถาและรากสดใช้ต้มเป็นยาแก้ปัสสาวะขุ่นข้น (ราก)
  17. ช่วยแก้กามโรค (ราก)
  18. ช่วยรักษาบาดแผล (เนื้อไม้, ใบ, ผล) และเถาใช้เป็นยาพอกรักษาแผล (เถา)
  19. ใบใช้ตำพอกฆ่าเชื้อบาดแผล (ใบ)
  20. เปลือกใช้ตำเคี่ยวกับน้ำมะพร้าว ช่วยแก้ไฟไหม้น้ำร้อนลวก (เปลือก)
  21. เปลือกช่วยทำให้แผลเน่าเปื่อยแห้ง (เปลือก)
  22. ใบสดนำมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำพอสมควร นำมาทาวันละ 3-4 ครั้ง เพื่อใช้รักษาโรคผิวหนัง แก้อาการคัน แก้หิด แก้หืด (ใบ)
  23. ช่วยแก้อาการปวด (ผล)
  24. ช่วยแก้อาการบวม (ใบ, ต้น, ทั้งต้น)แก้อาการบวมที่ไม่รู้สาเหตุ (ทั้งต้น)
  25. ช่วยแก้อาการเหน็บชา โดยนำมาสับตากแดด แล้วนำมาต้มกิน (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  26. ใบนำมาตำให้ละเอียดคั้นเอาแต่น้ำใช้พอกรักษาสิว (ใบ)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

42.ใบเตย เตย เตย  หรือ  เตยหอม   ชื่อสามัญ Pandan leaves, Fragrant pandan, Pandom wangi เตย ชื่อวิทยาศาสตร์  Pandanus amarylli...